Prosopocoilus buddha ด้วงคีมบูด้า
ถิ่นกำเนิด ::
- ประเทศไทย Prosopocoilus buddha buddha
- เกาะเซเลเบส ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus buddha patricius
- เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus buddha erberi
- เกาะบอร์เนียว Prosopocoilus buddha annae
- เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus buddha javaensis
- เกาะคามิกวิน ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha babuyanensis
- เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha ebeninus
- เกาะพาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha palawanicus
- ประเทศเวียตนาม Prosopocoilus buddha approximatus
ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 58มม.
ระดับความหายาก :: หาได้ง่าย
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2
จุดเด่น ::
- ด้วงคีมบูด้ามีสีดำ เพศผู้มีลักษณะคีม 3 แบบ สั้น กลางและยาว
- ใน คีมยาวทั้ง 2 ข้างเขี้ยวจะมีหยักที่ไม่เท่ากัน บางครั้งสามารถสังเกตอย่างเห็นได้ชัด แต่สายพันธุ์ย่อย javaensis จะมีเขี้ยวทั้งสองข้างสมมาตรกัน
- เป็นด้วงคีมขนาดเล็กที่พบได้ง่ายทั่วไป
ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดเล็ก-กลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 400-800 มล.
ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ สามารถใช้ขอนขนาดเล็ก-กลางได้
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น
อุณหภูมิ ::
- best 18-24C
- normal 25-28C
- poor 29-32C
ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 20-40 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
- เพศผู้ 3-8 เดือน
- เพศเมีย 3-8 เดือน
- เพศผู้ 5-8 เดือน
- เพศเมีย 4-8 เดือน
อาหารตัวอ่อน
- ELmat
ด้วงคีมบูด้าเป็นด้วงคีมเล็กที่จัดว่าเลี้ยงได้ง่าย ไม่ต้องการอุณหภูมิต่ำมากก็สามารถเพาะได้
แต่หากต้องการเพศผู้ที่มีคีมยาวควรเลี้ยงในที่เย็น
สามารถเพาะด้วยวัสดุรองพื้นเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ปริมาณตัวอ่อนอาจจะไม่สูงมาก
ควรใส่ท่อนไม้ขนาดเล็ก-กลางลงไปด้วยอย่างน้อย 1 ขอน เพื่อเพิ่มปริมาณของตัวอ่อนที่จะได้รับ
ตัวเมียชอบกัดที่บริเวณผิวและขุดเข้าไปในไม้เพื่อวางไข่
ตัวด้วงไม่ค่อยดุมาก สามารถเลี้ยงรวมกันได้ ยกเว้นเพศผู้ที่มีคีมสั้นสามารถกัดขาตัวเมียจนขาดได้ ต้องระวังเพิ่มขึ้นหากจะเลี้ยงรวมกัน
No comments:
Post a Comment