Pages - Menu

Tuesday, July 16, 2013

ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุส Cyclommatus tarandus

Cyclommatus tarandus ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุส
ถิ่นกำเนิด ::

  • เกาะบอร์เนียว กาลิมันตัน  Cyclommatus tarandus
  • ประเทศมาเลเซีย Cyclommatus tarandus stenosomus

ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 65 มม.
ระดับความหายาก :: หาได้ง่าย
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2

จุดเด่น ::
  • ลำตัวมีสีแดง มัน ความยาวของช่วงตัวและคีมมีขนาดใกล้เคียงกัน
  • ถ้า ฟอร์มคีมครบจะเป็นแบบในภาพตัวอย่าง จะมีหยักเขี้ยวยื่นออกมา 2 จุด และช่วงปลายจะเป็นฟันซี่เล็ก แต่ถ้าฟอร์มคีมไม่ครบ ฟันหยักจะเล็กหรือไม่มีโผล่ออกมา
  • เป็นด้วงคีมที่ค่อนข้างขี้กลัว ถ้าถูกรบกวนจะวิ่งหนี ควรเลี้ยงในที่สงบและไม่ควรรบกวนขณะเลี้ยง


ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 600-1500 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งด้านในขอนไม้ และบริเวณโดยรอบผิวขอนไม้
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น ตัวเมียสามารถกัดไม้เป็นโพรงเพื่อมุดเข้าไปในท่อนไม้และทำรังวางไข่ด้านใน ได้ บางครั้งกัดรอบๆผิวไม้เพื่อวางไข่ การใส่ไม้ผุควรกลบทับด้วย เพราะตัวเมียชอบขุดเจาะลงไปด้านในรวมไปถึงบริเวณโดยรอบขอนไม้

อุณหภูมิ ::
  • best 16-22C
  • normal 23-26C
  • poor 27-29C


ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 30-40 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
  • เพศผู้ 6-10 เดือน
  • เพศเมีย 5-9 เดือน

อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 5-10 เดือน
  • เพศเมีย 5-8 เดือน

อาหารตัวอ่อน
  • ELmat
  • เชื้อเห็ดนางฟ้า


ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุสสามารถเป็นด้วงคีมเริ่มต้นสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ได้ตัวนึง เพราะสามารถออกไข่ได้ง่าย ผสมพันธุ์ได้ง่าย ในเซ็ทเลี้ยงไม่จำเป็นต้องใส่ขอนไม้ก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว รองพื้นด้วย Lmat pro หนาประมาณ 15-20 ซม. แล้วปิดทับหน้าด้วยเศษไม้ก็เพียงพอ
หลังจากเลี้ยงไปประมาณ 4-5 สัปดาห์จะเริ่มเห็นรอยตัวอ่อนที่ข้างกล่อง ซึ่งจะแยกออกมาเลี้ยงในกระปุกหรือเลี้ยงรวมในกล่องขนาดใหญ่ก็ได้
ตัวอ่อนทาน ELmat pro เป็นอาหาร หรือสามารถใช้เชื้อเห็ดนางฟ้าเป็นอาหารได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลเป็นพิเศษเพราะตัวอ่อนอาจจะไม่ทานเชื้อและตายได้
ตัวเต็มวัยมีระยะพักตัวนานประมาณ 4-5 เดือน ก่อนที่จะสามารถผสมพันธุ์ได้
เพศผู้ขนาดใหญ่มักพบปัญหาทานอาหารไม่ได้และจะตายในที่สุด ควรใช้แท่นรองเยลลี่หรือวางอาหารไว้หลายจุดบริเวณกลางตู้ อย่านำอาหารไปวางไว้ที่มุมตู้ เพราะอาจจะทานไม่ได้เพราะติดปลายคีมที่มีขนาดยาวเกินไปนั่นเอง และไม่ควรจับเล่นบ่อยเนื่องจากน้ำหนักของช่วงคีมที่มีสูง อาจทำให้ตัวด้วงหมดแรงและตายได้เร็วขึ้น



No comments:

Post a Comment