ชื่อวิทยาศาสตร์: Protaetia acuminata (Frabicius, 1775)
ขนาด: 12-18 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: อินโดนีเซีย , พม่า , มาเลเซีย , ไทย พบได้ทุกภาค
ภาพประกอบ:
ด้วงดอกไม้มันบ้าน
อันดับ Coleoptera
วงศ์ Scarabaeidae วงศ์ย่อย Cetoniinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Urbania acuminate
ด้วงดอกไม้มันบ้าน เป็นด้วงดอกไม้ขนาดเล็ก มีขนาด 12-18 มิลลิเมตร ลำตัวสีดำแต้มด้วยลวดลายสีขาว เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างกันที่เพศผู้มีหนามที่แข้งของขาคู่หน้า 1 อัน เพศเมียมี 2-3 อัน
ตัวเต็มวัย พบกินผลไม้สุกเช่น กล้วย ฝรั่ง เขตแพร่กระจาย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ลาว และประเทศไทย (พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย) ตัวอ่อนมักพบอยู่บริเวณกองปุ๋ยหมัก หรือท่อนไม้ผุ
ด้วงมีวงจรชีวิต 4 ขั้นตอน (complete metamorphosis) คือ
ระยะที่ 1 ใข่
ระยะที่ 2 ฟักออกมาเป็นตัวหนอน
ระยะที่ 3 เข้าดักแด้
ระยะที่ 4 ออกจากดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย
เพาะเลี้ยงยังไงครับตัวนี้
-ต้องใช้กล่องเพาะเลี้ยงกว้าง/ยาว/สูงเท่าไร
-ดินที่เพาะเลี้ยงควรเป็นแบบไหน
ง่ายๆเลยครับเจ้าพวกนี้ ปูหลวมๆ หน่อยครับ ใส่ดิน ใบไม้ผุ กล่อง ลึกหน่อยน่ะครับ สูงประมาณ 15-30 กว้าง 15 ก็อยู่แล้วล่ะครับ
ดินดำ ใส่ใบไม้ผุ ใส่มูลสัตว์ก็ใช้ได้แล้วล่ะครับ
ด้วงดอกไม้มันบ้าน
เลี้ยงง่ายแต่บินไว ต้องระวัง
No comments:
Post a Comment