ด้วงงวงมะพร้าว หรือที่ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงสาคู.
"ด้วงงวงมะพร้าว" (Pin-hole borers) ในแถบภาคใต้มักจะพบอาศัยแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ อยู่ตาม "ต้นสาคู" ผู้คนถิ่นนี้จึงต่างเรียกขานมันว่า "ด้วงสาคู" อดีตที่ผ่านมานั้น ชาวบ้านมักนำมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อลดต้นทุน
กระทั่งนักเปิบเริ่มหันมาให้ความสนใจ เนื่องจาก พบว่าในตัวมันเองมีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะ "โปรตีน" ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ ทุกวันนี้เราจึงมักจะเห็น "หนอนไม้" ชนิดดังกล่าว ขึ้นไป "นอนตัวกลม" อยู่บนแผง "รถขายแมลงทอด" ที่วิ่งอยู่ทุกหัวตลาดทั้ง กทม.และต่างจังหวัด ซึ่งสนน ราคาซื้อขายตัวเป็นๆ ตกอยู่ที่กิโลฯละถึง 250 บาท
นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า....เพื่อเป็นการเพิ่มอาชีพที่ลงทุนไม่สูงมากนัก กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ส่วนส่งเสริมสินค้าเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ เสริม ซึ่งแหล่งธรรมชาติที่ด้วงชนิดนี้ชื่นชอบฝังตัวอยู่ ก็คือ ตามต้นมะพร้าวหรือต้นสาคู แต่ถ้าเลี้ยงเชิงพาณิชย์ เพื่อป้อนขายให้กับบรรดาพ่อค้ารถแมลงทอดนั้น
...จากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองพบว่า อาหารที่ด้วงชอบและทำให้การเจริญเติบโตได้ดี ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าอาหารชนิด อื่น คือ ขุย กากมะพร้าว รำข้าว และ มันสำปะหลัง ผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์อัตราตัวผู้ 1 : ตัวเมีย 10 ตัว หลังจับคู่อยู่ร่วมกันประมาณ 10 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ จากนั้นอีก 2-3 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน แล้วเลี้ยงต่ออีก 1-2 เดือน เพื่อให้ สมาชิกใหม่มีขนาดรูปร่างตัวเขื่อง "อวบอั๋นอ้วนพี" ก็สามารถคัดส่งให้กับบรรดาพ่อค้าได้เลย
และ...หากต้องการคัดไว้ทำพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพื่อขยายประชากรต่อ ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 140 วัน ซึ่งลักษณะรูปร่างเมื่อโตเต็มวัยนั้น ด้วงเพศผู้ จะมีขนาดใกล้เคียงกับเพศเมีย แต่ มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ทั้งสองเพศจะ มีสีและจุดแต้มบนหลังหลายรูปแบบ ปีกมีเส้นเป็นร่องตามความยาว วัดความยาวตั้งแต่หัวจดท้ายประมาณ 25-28 มิลลิเมตร
หลังจากทำหน้าที่ขยายเผ่าพันธุ์ 5-6 เดือน ด้วงเหล่านี้จึงตาย ซึ่ง กว่าจะถึงวันนั้นก็สร้างกำไรให้กับผู้เลี้ยงได้มากโขเอาการ
สำหรับใครที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2940-6102 ในวันและเวลาราชการ.
ระวังสับสนกับ ด้วงแรดมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน ในภาษาใต้ (อังกฤษ: Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus
จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร
โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง
กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลกตัวหนอนในชามที่รอการบริโภค
แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน
No comments:
Post a Comment