3 กลุ่มอาชีพ "เครื่องแกงตำมือ ฟาร์มด้วงสาคู ผึ้งโพรงไทย" สะท้อนความสำเร็จ การพัฒนาอาชีพ
กลุ่มพริกแกงบ้านน้ำแคบ ได้ก่อตั้งขึ้น
เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างของแม่บ้านให้มีการทำอาชีพเสริมร่วมกัน
มีการบริหารจัดการอย่างน่าสนใจ
และได้ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชน
เพราะเครื่องแกงเป็นสินค้าที่ทุกครัวเรือนต้องนำไปใช้ปรุงอาหารกันทุกวัน
โอกาสขาดทุนจึงน้อย
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการดำเนินงานทุกอย่างจะราบรื่นไปเสียทั้งหมด
ยินดี นุชพืช เลขานุการ และเหรัญญิกกลุ่มพริกแกง เล่าว่า
“ตอนเริ่มต้นก่อตั้งกลุ่มมีสมาชิกสมัครใจเข้าร่วม 13 คน
ในแต่ละสัปดาห์จะลงมือทำพริกแกง 2-3 ครั้งเพื่อให้ได้พริกแกงที่ใหม่สด
ผลิตได้สัปดาห์ละประมาณ 120 กิโลกรัม ช่วงเริ่มต้น 1-2 เดือนแรก
ทำแล้วขาดทุน จากเงินทุนตั้งต้นของกลุ่ม 3,400 บาท เหลือเงินอยู่พันกว่าบาท
หลังจากได้ดูงานของกลุ่มพริกแกงทำมือบ้านเคี่ยมใต้ จ.พังงา
ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคการจัดเตรียมวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต
และการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม หลังจากนั้นนำมาปรับปรุงการทำงาน
ปัจจุบันกลุ่มพริกแกงมีกำไรประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท โดยมีสโลแกนของกลุ่มว่า
พริกแกงตำมือบ้านน้ำแคบ “รสเด็ด เผ็ดอร่อย” ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าตีตลาดแตก
เพราะใช้วัตถุดิบท้องถิ่นคุณภาพดี กรรมวิธีการปรุงสะอาด
นอกจากลูกค้าในชุมชนแล้วแต่ละเดือนยังส่งมาขายที่ร้านอาหารในกรุงเทพฯ
บางร้านอีกด้วย เพียงแค่นี้ก็ทำให้กิจกรรมของกลุ่มส่งเสริมอาชีพเล็ก ๆ
มีแนวโน้มจะเจริญเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน”
ส่วน กลุ่มเลี้ยงด้วงสาคู
ในตำบลสระแก้วได้เลือกอาชีพเสริมนี้เพื่อหารายได้เสริมในช่วงที่พักจากการ
กรีดยางหรือทำสวน
โดยทางกลุ่มได้รับการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ตามหลักเศรษฐกิจพอ
เพียง และสามารถดำเนินการเลี้ยงด้วงสาคู
และบริหารจัดการฟาร์มและการจัดจำหน่ายได้อย่างเป็นระบบ
โดยปัจจุบันมีลูกค้ามารับซื้อเพื่อขายต่อให้กับร้านอาหาร
และยังสามารถขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายแม่พันธุ์ได้อีกด้วย
นิคม คงทน ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสระแก้ว
เล่าถึงการเลี้ยงด้วงสาคูว่า “ด้วงสาคูมีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นชนิดที่กินยอดมะพร้าว
แต่ความจริงแล้วตัวที่กินคือด้วงงวง
ด้วงสาคูจะเข้าไปวางไข่ที่ยอดมะพร้าวหรือยอดปาล์มที่หลุดลงมาจากต้นแล้วเท่า
นั้น ทุกวันนี้ต้นสาคูเหลือน้อยลง จึงต้องมีการเลี้ยงไว้เพื่ออนุรักษ์
และนำมาปรุงเป็นอาหารโปรตีนสูง ทั้งยังขายได้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ 250 บาท
นับเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอีกทางหนึ่ง”
สำหรับ กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย มีสมาชิกตั้งต้น 8 คน ที่มีอาชีพทำสวนผลไม้
เห็นว่ามีสถานที่ที่เหมาะสมที่จะเลี้ยงผึ้ง
จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นโดยได้ผ่านการอบรม
และได้เดินทางไปดูงานที่จังหวัดกระบี่
เพื่อนำความรู้มาปรับปรุงธุรกิจของตนเอง
ในปัจจุบันกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมีสมาชิกทั้งหมด 21 คน
สามารถผลิตน้ำผึ้งคุณภาพดีมาจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนได้
นอกจากนั้นยังมียอดสั่งซื้อจากจังหวัดใกล้เคียงในช่วงเทศกาลอยู่เป็นประจำ
พร้อมกันนั้นยังสามารถนำไขผึ้งมาขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอีกด้วย
โดยมีจุดเด่นคือเป็นน้ำผึ้ง 100% ไม่มีการเลี้ยงโดยใช้น้ำตาล
และยังมีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานกันอย่างเข้มงวดก่อนนำออกจำหน่าย
พิสณห์ สายทอง ประธานกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
ให้รายละเอียดเรื่องการควบคุมคุณภาพน้ำผึ้งของกลุ่มว่า
เมื่อสมาชิกได้น้ำผึ้งมาแล้ว จะต้องอบไล่ความชื้น จากนั้นนำมาให้ศูนย์ฯ
ตรวจวัดความชื้น แล้วแปะสติกเกอร์ที่มีหมายเลขสมาชิกเป็นการรับรองคุณภาพ
ป้องกันเรื่องน้ำผึ้งมีปัญหา
หากพบน้ำผึ้งไม่ได้คุณภาพจะได้รู้ว่าเป็นของใคร
จากการรวมกลุ่มเพื่อตรวจคุณภาพในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา
ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด ขณะนี้สมาชิกของเราเลี้ยงผึ้งรวมได้ประมาณ 800 รัง
ผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
นอกจากได้น้ำผึ้งสีอ่อนใสนำไปบริโภคและใช้เป็นส่วนผสมปรุงยาสมุนไพรแล้ว
ยังมีผลิตภัณฑ์ข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกมาก
กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยยังสนับสนุนเรื่องการออมทรัพย์ให้สมาชิกเพื่อช่วย
เหลือในเวลาที่สมาชิกจะต้องทำรังผึ้งใหม่ มีความจำเป็นต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์
ก็สามารถกู้เงินไปใช้ได้ด้วย
โครงการนี้ จัดตั้งขึ้นในปี 2554
เพื่อส่งเสริมวินัยการออมทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน พัฒนาอาชีพเสริม
และเรียนรู้การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
ผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชาวบ้านในการจัดตั้งธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน
การตั้งกลุ่มธุรกิจแบบการลงหุ้น และการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ
ทั้งด้านการบริหาร การเงิน และการพัฒนาทักษะอื่น ๆ จากวันแรกถึงปัจจุบัน
ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว โดยมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องราว 100
กิจกรรมต่อปี ในพื้นที่ 50 หมู่บ้าน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยในขณะนี้ได้มีการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านแล้ว 49 ธนาคาร ใน 49 หมู่บ้าน
มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 6,000 คน โดยมียอดกองทุนเงินออมทั้งหมดกว่า 19 ล้านบาท
ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของโครงการในการส่งเสริมการออมและส่งเสริมความเข้ม
แข็งให้กับชุมชนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี.
No comments:
Post a Comment