การเพาะด้วง
การเพาะด้วงนั้น ด้วงตระกูลที่ส่วนใหญ่นิยมเพาะกันคือ ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae) ด้วงคีม(Lucanidae) และด้วงดอกไม้(Cetoniinae)
แต่ด้วงกว่าง และด้วงดอกไม้จะมีวิธีการเพาะคล้ายๆกัน ต่างกันเพียงไม่กี่ข้อ ในการเพาะ เราจะพูดถึงการผสมพันธุ์ด้วง การจัดตู้จนถึงรื้อตู้เพื่อหาหนอนครับ
จะแบ่งเป็นข้อๆ คือ 1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด 2.ด้วงคีม 3.ด้วงดอกไม้ 4.ด้วงอื่นๆ แต่เราจะพูดเรื่องการผสมพันธุ์ด้วงกันก่อน
คือ ด้วงที่จะพร้อมผสมนั้นหลังจากออกดักแด้ รอให้ด้วงบินและกินอาหารนับว่าพร้อมผสมแล้ว การจัดตู้ผสม ก็ไม่ยาก ใช้กระปุกเล็กๆพอใส่ด้วงได้ ใส่ดินหรือไม่ใส่เลย แต่ให้มีกิ่งไม้หรือขอนไม้ให้เกาะเป็นพอครับ ฉีดน้ำเล็กน้อย ใส่ตัวผู้กับเมียลงไป ถ้าตัวผู้ไล่หนีบหรือชนตัวเมีย ให้แยกตัวเมีย อกกมา 3-7วัน หรือมากกว่า แล้วค่อยใส่ตัวเมียลงไปเพราะตัวผู้อาจจะเครียดและหนีบตัวเมียตายได้ และนี่ก็คือการผสม เราจะช่วยนิดเดียวเช่นจับตัวเมียไม่ให้หนี(ด้วงบางชนิด แค่เห็นก็ผสมอย่างง่ายดายไม่ต้องจัดตู้อะไรเลย)
มาถึงขั้นจัดตู้และข้อมูลต่างๆกันครับ
1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae)
ด้วงกว่างและด้วงแรดเป็นด้วงที่ส่วนใหญ่สามารถเพาะได้ไม่ยุ่งยากและเพาะไม่ยาก เช่น กว่างชน กว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง ด้วงแรดมะพร้าว ซึ่งเป็นตัวเริ่มหัดเลี้ยงได้ดี การเพาะ ทำได้โดย ใช้ ขี้เลื่อย ผสมมูลสัตว์+แป้ง หมัก 1-2เดือน (หรือซื้อเอาตามเว็บไซต์) เมื่อหมักเสร็จ นำ มาคลุกน้ำ ปรับความชื้นให้บีบแล้วเป็นก้อน มีน้ำซึมตามง่ามนิ้วนิดหน่อย แต่ไม่หยด ไม่ให้แฉะ ตูในตู้กระจก หรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ อัดแน่น ซัก 5-10เซนฯ จากนั้นเทแบบไม่ต้องอัดแน่น จนเกือบเต็มให้เหลือที่ให้ด้วงเดินได้ก็พอ และโรยกิ่งไม้ ใบไม้ด้านบนให้ด้วงเกาะ และเผื่อด้วงหงายท้อง หลังจากนั้น 1-2เดือนหรือมากกว่า จึงรื้อตู้หากมีหนอนจึงแยกหนอนออกมาเลี้ยง
2.ด้วงคีม(Lucanidae)
ด้วงคีม ส่วนใหญ่ จะวางไข่ในขอนไม้ผุที่นิ่มจนมือแกะได้ ไม้ที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้ขนุน มะม่วง ตีนเป็ด นุ่นป่า และไม้ก่อ เป็นต้น ยกเว้นตระกูล คีมกวาง (Odontolabis) และ คีมนีโอ (Neolucanus) จะมีวิธีการวางไข่คล้ายด้วงกว่าง ส่วนคีมอื่นๆจะวางไข่ในขอนไม้ การเพาะทำได้โดย นำ ขี้เลื่อย ผสมเชื้อเห็ด+แป้ง หมักไว้ 1-2เดือน ปรับความชื้น อัดลงในตู้กระจกหรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ ซัก 5-10เซนฯ วางไม้ผุที่ผ่านการเพาะเห็ดหรือไม่ก็ได้ เส็นผ่านศุนย์กลางอย่างน้อยควร 8เซนฯ วางลงไป และปูแบบหลวมกึ่งแน่น ลงไปครึ่งขอนไม้ และปูแบบหลวมจนเกือบท่วมขอนไม้ โรยกิ่งไม้ใบไม้ให้ด้วงเกาะ ปล่อยไว้ 2เดือนหรือมากกว่าจึงรื้อตู้ ถ้ามีหนอนจึงแยกมาเลี้ยง
3.ด้วงดอกไม้ (Cetoniinae)
ด้วงดอกไม้จะมีวิธีเพาะคล้ายด้วงกว่าง แต่ควรลดมูลสัตว์ลงนิดหน่อย ตอนผสมพันธุ์ ด้วงดอกไม้จะชอบผสมพันธุ์กลางแดด ส่วนวิธีเพาะสามารถทำได้เหมือนด้วงกว่างครับ
4.ด้วงอื่นๆ (ETC.)
เช่นด้วงมูลสัตว์ จะชอบวางไข่โดยปั้นก้อนมูลสัตว์เป็นก้อนและวางไข่ภายใน ด้วงหนวดยาวและแมลงทับ จะวางไข่ในไม้ที่ยังเป็นๆอยู่จึงจัดว่าด้วงหนวดยาวและแมลงทับเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ดังนั้น การเพาะด้วงอื่นๆจะมีวิธีเพาะยุ่งยากกว่าด้วง3ข้อด้านบน
จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเพาะด้วงครับ
No comments:
Post a Comment