|
ด้วงงวงผักตบชวา Neochetina spp. (Coleoptera: Curculionidae) ประกอบด้วยด้วงงวงผักตบชวาลายแต้ม Neochetina ecihhorniae Werner และด้วงงวงผักตบชวาลายบั้ง Neochetina bruchi Hustache ถูกนำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธีตั้งแต่ปี 2520 และ 2533 จากประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียตามลำดับ ได้ทำการปลดปล่อยเพื่อใช้ในการควบคุมผักตบชวาในทุกพื้นที่ที่มีการระบาดทั่ว ประเทศมาตั้งแต่ปี 2522 และ 2534 ด้วงงวงผักตบชวาเป็นด้วงงวงขนาดกลางในวงศ์เคอร์คิวลิโอนิดี้(Family Curculionidae)ซึ่งส่วน ปากจะยื่นยาวออกมาคล้ายงวงจึงได้ถูกเรียกชื่อเป็นด้วงงวง (weevils) มีชีวิตอยู่แบบกึ่งบกกึ่งน้ำ
|
ชีพจักรและลักษณะทางชีววิทยา ของด้วงงวงผักตบชวา |
ไข่: มีลักษณะกลมรี มีขนาดความยาวสูงสุด 0.44 0.04 มิลลิเมตร และความกว้าง 0.865 0.06 มิลลิเมตร ไข่จะมีสีขาวแต่จะเหลืองเมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัวหนอน
ดักแด้ : ด้วงงวงผักตบชวาจะเข้าดักแด้ที่รากของต้นผักตบชวาที่มีชีวิต เท่านั้น หนอนก่อนเข้าดักแด้จะเข้าทำแผลที่รากแขนงและดึงเอารากฝอยที่อยู่รอบๆ มาทำเป็นปลอกหุ้มตัว มีลักษณะเป็นกลมๆหนอนจะเข้าดักแด้ภายในปลอกนี้
ตัวเต็มวัย : มีสีน้ำตาลเข้ม
ตัวเมียมีขนาดความยาว 4.22 0.22 มิลลิเมตร ส่วนกว้างตรง pronotum 2.225
0.15 มิลลิเมตร ตัวผู้มีขนาดความยาว 3.7 1.32 มิลลิเมตร
ส่วนกว้างตรงpronotum1.833 1.32 มิลลิเมตร ตัวผู้มีงวง (rostrum)
ที่สั้นและโค้งน้อยกว่าตัวเมียและมีตุ่มตรงด้านล่างของ
งวงมากกว่าตัวเมียตัวเต็มวัยจะออกหากินและผสมพันธุ์พร้อมทั้งวางไข่ในเวลา
กลางคืนในตอนกลางวันจะพบตัวเต็มวัยตามซอกก้านใบหรือตามโคน
วงจรชีวิตของด้วงงวงผักตบชวา
|
ระยะเวลาเจริญเติบโต
ระยะไข่ 6-9 วัน
ระยะตัวหนอน 45-50 วัน
ระยะดักแด้ 14-16 วัน
ระยะตัวเต็มวัย : ตัวผู้ 62-75 วัน
ตัวเมีย 48-70 วัน
รวม 113-150 วัน
ระยะไข่ 6-9 วัน
ระยะตัวหนอน 45-50 วัน
ระยะดักแด้ 14-16 วัน
ระยะตัวเต็มวัย : ตัวผู้ 62-75 วัน
ตัวเมีย 48-70 วัน
รวม 113-150 วัน
ลักษณะการทำลายของด้วงงวงผักตบชวา |
ด้วงงวงตัวเต็มวัยจะกัดกินเนื้อเยื่อบนใบเป็นรูปสี่เหลี่ยม จนถึงกลมเป็นจุดๆ พบได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ รวมทั้งตามก้านของผักตบชวาด้วย ปกติด้วงชนิดนี้จะกัดกินผักตบชวาในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกใบใกล้กับระดับน้ำ โดยเฉพาะใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ ตัวหนอนจะชอนไชและกัดกินเนื้อเยื่อภายในก้านใบ ถ้ามีการทำลายของด้วงงวงมากใบจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา ก้านใบและเหง้าฉีกขาดเป็นแผลให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเน่าตายในที่สุด
|
ผลของการควบคุมโดยด้วงงวงผักตบชวา |
โดยปกติผักตบชวาจะสามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้เป็น 2 เท่าภายในเวลา 2 สัปดาห์ แต่จากการทำลายของด้วงงวงผักตบชวาจะช่วยลดการขยายพันธุ์ของผักตบชวาได้ ในแหล่งน้ำหนึ่งๆ ถ้ามีด้วงงวงผักตบชวาคอยควบคุมอยู่ด้วงงวงสามารถลดปริมาณผักตบชวาในแหล่งน้ำ นั้นจาก 90 % ของพื้นที่ให้เหลือเพียง 25 % ภายในระยะเวลา 5-6 ปี
No comments:
Post a Comment