Pages - Menu

Sunday, July 21, 2013

เกษตรกรคนเก่ง:เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน

สงขลาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูรายได้กว่า5หมื่นบ.
เกษตรกรใน จ.สงขลา เพาะเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง สร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากการกรีดยางพารา เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท
นาย สังวรณ์ มะลิวรรณ อายุ 48 ปี และ นางสุนันท์ มะลิวรรณ สองสามีภรรยา ชาวบ้านหูแร่ หมู่ 3 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หันมาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้นอกเหนือจากอาชีพหลักที่กรีดยางพารา จนประสบความสำเร็จ มีรายได้ต่อเดือนเกือบ 5 หมื่นบาท โดยสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงในบริเวณบ้าน และขยายการเลี้ยงตลอดช่วง 3 ปี จนถึงขณะนี้ เพิ่มเป็น 500 กะละมัง สามารถเลี้ยงด้วงสาคูออกจำหน่ายได้สูงสุด 200 กิโลกรัมต่อเดือน ขายได้กิโลกรัมละ 250 บาท และเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ละรุ่นที่ออกมาไม่พอขาย และกำลังขยายการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น
ส่วนขั้นตอนของการเลี้ยงใน กะละมัง จะใช้ต้นสาคูมาบดผสมกับอาหารหมูโต 1 จาน ผสมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากัน และนำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ใส่ลงไปกะละมังละ 10 ตัว นำฝามาปิดกะละมังไว้ พ่อแม่พันธุ์ก็จะเริ่มวางไข่ ทิ้งไว้ 1 เดือน ก็สามารถจับขายได้ โดยแต่ละกะละมังจะได้ตัวด้วงประมาณ 1 กิโลกรัม แต่จะต้องคอยดูแลให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ด้วงโตเร็วและมีรสชาติหวานมัน อีกทั้งมีโปรตีนสูง เป็นที่ต้องการของตลาด

เกษตรกรคนเก่ง:เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน

เกษตรกรคนเก่ง : เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน 'คำนึง รัตนพันธ์' : โดย...สุพิชฌาย์ รัตนะ

 

                            เป็นที่รู้กันดีโดยทั่วกันว่า อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช คือดินแดนที่มีโอโซนดีที่สุดของไทย ดังนั้น จึงไม่แปลกหากที่นี่จะมีพืชผลการเกษตรที่มีคุณภาพ รวมทั้งการเลี้ยง "ด้วงสาคู” ของ “คำนึง รัตนพันธ์” สตรีรุ่นใหญ่แห่ง ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา ที่ผลผลิตด้วงชนิดนี้ส่งขายยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย กระบี่ ภูเก็ต สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
                            "คำนึง" เล่าว่า ตัดสินใจศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูเมื่อหลายปีก่อน เพราะเชื่อว่าอากาศที่ดีจะส่งผลดีต่อตัวด้วงที่เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน บวกกับตอสาคูที่หาได้ในชุมชนล้วนเป็นชนิดที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลดีต่อการเพาะ เลี้ยงไปโดยปริยาย
                            “ด้วงชนิดนี้มีทั้งหาจากป่าสาคู หรือป่ามะพร้าว และการเลี้ยงที่นำท่อนสาคูหรือท่อนลานมาวางไว้ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์มากิน ผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นจึงเก็บบริโภคเมื่อมีขนาดโตเต็มวัย” คำนึง บอกสูตรการเลี้ยงแบบง่ายๆ
                            พร้อมย้ำว่า ปัจจุบันด้วงสาคูเป็นที่ต้องการของตลาดมากจนผลิตไม่ทัน เนื่องจากราคาดี เลี้ยงง่าย ใช้เวลาสั้น จึงมีผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น และได้มีการพัฒนาไปเลี้ยงในกะละมัง เนื่องจากควบคุมผลผลิต ทั้งแง่ปริมาณและเวลาได้
                            "จุดแข็งของที่นี่คือ อากาศดี ทำให้ด้วงตัวโตเมื่อเต็มวัยและลูกค้าต้องการมาก มองเห็นโอกาสจึงแปลงสภาพพื้นที่หลังบ้านเป็นโรงเรือนเลี้ยง และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจและยังขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้แก่ เพื่อนบ้านในราคาถูกอีกด้วย"
                            แม้จะเป็นชาวสวนยางและสวนผลไม้ แต่วันนี้รายได้จากการเลี้ยงด้วงกลับเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้ครอบ ครัวเป็นกอบเป็นกำ จนมีหลายคนเดินทางมาศึกษาดูงานที่บ้านมากพอๆ กับลูกค้าที่เดินทางมาซื้อด้วงอย่างไม่ขาดสาย
                            สนนราคาขายด้วงอยู่ที่ กก.ละ 300-500 บาท ตามแต่ละพื้นที่ที่สั่งซื้อ ใครที่สนใจศึกษาดูงาน หรือขอองค์ความรู้ ต้องการทราบวิธีการเลี้ยง ตลอดจนอยากลองลิ้มชิมด้วงชนิดนี้ ติดต่อได้ที่ 08-9292-2886 หรือ 09-0479-6037 ได้ทุกวัน


--------------------
(เกษตรกรคนเก่ง : เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน 'คำนึง รัตนพันธ์' : โดย...สุพิชฌาย์ รัตนะ)

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วงในที่นี้ รวมถึงการดูแลและการจับด้วงอย่างถูกวิธี ไม่รวมการเพาะ เราจะแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ครับ

1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย 2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)

1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย

ด้วงตัวเต็มวัยนั้นส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืน กลางวันหลบซ่อนตามซอกไม้หรือในดิน ยกเว้นด้วงดอกไม้และด้วงมูลสัตว์บางชนิดที่ออกบินหากินยางไม้เวลาแดดออก แต่ในการเลี้ยงของเรา เมื่อไม่เห็นด้วงกินอาหารไม่ต้องตกใจ เพราะด้วงอาจขึ้นมากินตอนกลางคืน การเลี้ยงตัวเต็มวัย สำหรับการปูพื้นสามารถใช้ขี้เลื่อย ผสมเศษกิ่งไม้ใบไม้ และโรยด้านบนด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ กันเมื่อด้วงหงายท้องแล้วพลิกกลับไม่ได้ทำให้หมดแรงตายได้ ปูไว้ในตู้จระจก หรือกล่องพลาสติก ขนาดใหญ่กว่าตัวดว้ง เพราะทำให้ด้วงไม่เครียด และด้วงไม่ชอบพื้นเรียบและลื่น จะทำให้ด้วงขาเสียได้ (สาเหตุที่ด้วงเครียดมาจากหลายสาเหตุ เช่นการจับเล่นบ่อยเกินไป) ปูในตู้ซัก 5-10เซนติเมตร และดินควรชื้นแต่ไม่แฉะและฉีดน้ำทุก 1-2วันหรือเมื่อเห็นหน้าดินแห้ง และหากด้วงเครียกก็กาจเดินตะกุยตู้ ขาพับและเสียได้เหมือนกัน และหากอยากให้ด้วงอยู่นานๆไม่ควรให้ด้วงผสมพันธุ์ เพราะด้วงจะเสียพลังงานเยอะในการผสมพันธุ์ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำในกรณีที่ได้ด้วงมาแต่ตัวผู้ หรือได้ตัวผู้มาเกิน เพราะตัวผู้1ตัวสามารถผสมตัวเมียได้หลายตัว เพราะถ้าทำแบบนี้มาก ด้วงจะไม่มีโอกาสได้ขยายพันธุ์ครับ
การจับด้วง สำหรับด้วงกว่าง ทำได้ โดยจับที่เขาบน หรือเขาล่างก็ได้ ส่วนด้วงคีม ด้วงดอกไม้ หรือด้วงอื่นๆที่ไม่มีเขาที่อกให้จับที่ส่วนอกหรือตัวครับ

2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)



การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้นั้น เหมือนกับการดูแลเด็กทารก เพราะ เป็นช่วงที่บอบบาง เราจะแบ่งเป็นช่วงดังนี้
2.1 การเลี้ยงไข่ 2.2 การเลี้ยงหนอน 2.3การเลี้ยงดักแด้

-2.1 การเลี้ยงไข่
การเลี้ยงไข่ หรือการแยกไข่มาฟักเองหรือที่เรียกว่า ฟักมือ ทำได้โดย แยกไข่ออกมา แล้ววางบนดินแล้วกลบ หรือ จิ้มดินให้เป็นหลุมข้างกระปุกแล้วหยอดไข่หลุมละใบเพื่อดูพัฒนาการของไข่ หรือวางไข่บนกระดาษทิชชู่ที่ชุ่มน้ำ แล้วรอจนฟักเป็นหนอน การจับไข่ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการจับด้วยมือ ควรตักด้วยช้อนให้ติดมากับดิน เพราะไข่ของด้วงค่อนข้างบอบบาง และด้วงในตระกูล Eupatorus คือกว่าง5เขา,กว่างซาง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา เพราะบอบบางมาก แตกได้ง่ายๆ

-2.2 การเลี้ยงหนอน

การเลี้ยงหนอน หนอนแบ่งออกเป็น3ระยะ คือ L1 L2 และ L3 แต่ละวัยสามารถดูได้จากขนาดกะโหลก เพราะส่วนกะโหลกจะไม่มีการขยายตัวจนกว่าจะลอกคราบอีกครั้ง หนอนสามารถเลี้ยงได้ในกระปุกพลาสติก ขนาดตั้งแต่ 100ml(สำหรับ L1) และไล่ไปเรื่อยๆ รวมถึงสามารถเลี้ยงในตู้กระจกได้เช่นกัน สารอาหารของหนอนด้วง สำหรับด้วงคีมหนอนจะต้องการเชื้อเห็ด แต่ด้วงกว่างจะชอบมูลสัตว์ โดยเฉพาะมูลวัวแห้ง เราจะนำมาผสมขี้เลื่อย ไม้มะม่วง หรือขนุน หรือไม้อื่นๆ และหมักกับแป้ง อัตราส่วน แป้ง:ขี้เลื่อยผสมมูลหรือเชื้อเห็ด 1:9 (แล้วแต่สูตรของแต่ละคนด้วย) หมักเป็นเวลา 1-2เดือน และตากแดดเพื่อกำจัดไร ไส้เดือนฝอยที่จะมาเบียดเบียนหนอนของเรา จากนั้นนำขี้เลื่อย ผสมน้ำให้พอชื้น แต่ห้ามแฉะ ใส่ในกระปุกหรือตู้จนเกือบเต็ม แล้วใส่หนอนด้วงลงไป การเปลี่ยนอาหาร ทำทุก 1-2เดือน ดูจากมูลของหนอนถ้ามีมากก็เปลี่ยนได้เลย กระปุก ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี หนอนจะกินขี้เลื่อยอยู่ในกระปุก จนเปลี่ยนวัยเรื่อยๆจนเาดักแด้(เราควรเปลี่ยนขนาดกระปุกตามขนาดของหนอน) การตรวจเช็คหนอนควรทำตอนเปลี่ยนอาหาร ไม่ควรรบกวนหนอนมาก และหนอนไม่ชอบแสงและเสียงรบกวนมากเท่าไหร่ และควรหมั่นฉีดน้ำให้หน้าดินชื้นเสมอเมื่อหน้าดินแห้ง และหนอนในระยะ L1ควรใช้ช้อนตักเพราะเมื่อใช้มืออาจทำให้หนอนตายได้เพราะค่อนข้างบอบบาง

-2.3 การเลี้ยงดักแด้

การเลี้ยงดักแด้ หนอนด้วงเมื่อระยะ L3 ช่วงท้ายตัวจะเหลือง และเริ่มทำโพรงตัวย่น เตรียมเข้าดักแด้ ดักแด้นั้นเป็นช่วงที่บอบบางมากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา แต่ถ้าต้องการศึกษา สามารถทำได้โดยใส่ไว้ในโอเอซิส ที่ทำเลียนแบบโพรงที่ด้วงสร้างเพื่อเข้าดักแด้ และฉีดน้ำให้ชื้น ย้ายโดยใช้มือหยิบดักแด้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ดักแด้ช้ำแล้วนำใส่โอเอซิสที่กดเลียนแบบโพรงที่หนอนสร้างขึ้นมา และไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายรูปเพราะดักแด้จะตายได้ ไม่ควรให้กระปุกใส่ดักแด้นั้นกระทบกระเทือน หากเป็นโพรงที่หนอนสร้างเอง ถ้ากระทบกระเทือนมากโพรงอาจพังได้และรอจนกว่าด้วงออกดักแด้ จากนั้นด้วงจะพักตัวอยู่ในโพรงหรือในดิน นาน 1-2เดือนก่อนขึ้นมากินอาหาร บิน และ ผสมพันธุ์

จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเลี้ยงด้วงครับ

การเพาะด้วง

 การเพาะด้วง

การเพาะด้วงนั้น ด้วงตระกูลที่ส่วนใหญ่นิยมเพาะกันคือ ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae) ด้วงคีม(Lucanidae) และด้วงดอกไม้(Cetoniinae)

แต่ด้วงกว่าง และด้วงดอกไม้จะมีวิธีการเพาะคล้ายๆกัน ต่างกันเพียงไม่กี่ข้อ ในการเพาะ เราจะพูดถึงการผสมพันธุ์ด้วง การจัดตู้จนถึงรื้อตู้เพื่อหาหนอนครับ
จะแบ่งเป็นข้อๆ คือ 1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด 2.ด้วงคีม 3.ด้วงดอกไม้ 4.ด้วงอื่นๆ แต่เราจะพูดเรื่องการผสมพันธุ์ด้วงกันก่อน


คือ ด้วงที่จะพร้อมผสมนั้นหลังจากออกดักแด้ รอให้ด้วงบินและกินอาหารนับว่าพร้อมผสมแล้ว การจัดตู้ผสม ก็ไม่ยาก ใช้กระปุกเล็กๆพอใส่ด้วงได้ ใส่ดินหรือไม่ใส่เลย แต่ให้มีกิ่งไม้หรือขอนไม้ให้เกาะเป็นพอครับ ฉีดน้ำเล็กน้อย ใส่ตัวผู้กับเมียลงไป ถ้าตัวผู้ไล่หนีบหรือชนตัวเมีย ให้แยกตัวเมีย อกกมา 3-7วัน หรือมากกว่า แล้วค่อยใส่ตัวเมียลงไปเพราะตัวผู้อาจจะเครียดและหนีบตัวเมียตายได้ และนี่ก็คือการผสม เราจะช่วยนิดเดียวเช่นจับตัวเมียไม่ให้หนี(ด้วงบางชนิด แค่เห็นก็ผสมอย่างง่ายดายไม่ต้องจัดตู้อะไรเลย)


มาถึงขั้นจัดตู้และข้อมูลต่างๆกันครับ

1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae)
ด้วงกว่างและด้วงแรดเป็นด้วงที่ส่วนใหญ่สามารถเพาะได้ไม่ยุ่งยากและเพาะไม่ยาก เช่น กว่างชน กว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง ด้วงแรดมะพร้าว ซึ่งเป็นตัวเริ่มหัดเลี้ยงได้ดี การเพาะ ทำได้โดย ใช้ ขี้เลื่อย ผสมมูลสัตว์+แป้ง หมัก 1-2เดือน (หรือซื้อเอาตามเว็บไซต์) เมื่อหมักเสร็จ นำ มาคลุกน้ำ ปรับความชื้นให้บีบแล้วเป็นก้อน มีน้ำซึมตามง่ามนิ้วนิดหน่อย แต่ไม่หยด ไม่ให้แฉะ ตูในตู้กระจก หรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ อัดแน่น ซัก 5-10เซนฯ จากนั้นเทแบบไม่ต้องอัดแน่น จนเกือบเต็มให้เหลือที่ให้ด้วงเดินได้ก็พอ และโรยกิ่งไม้ ใบไม้ด้านบนให้ด้วงเกาะ และเผื่อด้วงหงายท้อง หลังจากนั้น 1-2เดือนหรือมากกว่า จึงรื้อตู้หากมีหนอนจึงแยกหนอนออกมาเลี้ยง

2.ด้วงคีม(Lucanidae)


ด้วงคีม ส่วนใหญ่ จะวางไข่ในขอนไม้ผุที่นิ่มจนมือแกะได้ ไม้ที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้ขนุน มะม่วง ตีนเป็ด นุ่นป่า และไม้ก่อ เป็นต้น ยกเว้นตระกูล คีมกวาง (Odontolabis) และ คีมนีโอ (Neolucanus) จะมีวิธีการวางไข่คล้ายด้วงกว่าง ส่วนคีมอื่นๆจะวางไข่ในขอนไม้ การเพาะทำได้โดย นำ ขี้เลื่อย ผสมเชื้อเห็ด+แป้ง หมักไว้ 1-2เดือน ปรับความชื้น อัดลงในตู้กระจกหรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ ซัก 5-10เซนฯ วางไม้ผุที่ผ่านการเพาะเห็ดหรือไม่ก็ได้ เส็นผ่านศุนย์กลางอย่างน้อยควร 8เซนฯ วางลงไป และปูแบบหลวมกึ่งแน่น ลงไปครึ่งขอนไม้ และปูแบบหลวมจนเกือบท่วมขอนไม้ โรยกิ่งไม้ใบไม้ให้ด้วงเกาะ ปล่อยไว้ 2เดือนหรือมากกว่าจึงรื้อตู้ ถ้ามีหนอนจึงแยกมาเลี้ยง


3.ด้วงดอกไม้ (Cetoniinae)
ด้วงดอกไม้จะมีวิธีเพาะคล้ายด้วงกว่าง แต่ควรลดมูลสัตว์ลงนิดหน่อย ตอนผสมพันธุ์ ด้วงดอกไม้จะชอบผสมพันธุ์กลางแดด ส่วนวิธีเพาะสามารถทำได้เหมือนด้วงกว่างครับ

4.ด้วงอื่นๆ (ETC.)
เช่นด้วงมูลสัตว์ จะชอบวางไข่โดยปั้นก้อนมูลสัตว์เป็นก้อนและวางไข่ภายใน ด้วงหนวดยาวและแมลงทับ จะวางไข่ในไม้ที่ยังเป็นๆอยู่จึงจัดว่าด้วงหนวดยาวและแมลงทับเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ดังนั้น การเพาะด้วงอื่นๆจะมีวิธีเพาะยุ่งยากกว่าด้วง3ข้อด้านบน

จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเพาะด้วงครับ

ประโยชน์ของด้วง

สวัวดีครับ วันนี้ ขอนำข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลอื่นๆของด้วงที่เป็นประโยชน์ รวมไปถึงวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงมาฝากเพื่อนๆครับ ติดตามชมกันได้ที่นี่ครับ
หัวข้อที่น่าสนใจ
ประโยชน์ของด้วง
แหล่งที่อยู่อาศัยของด้วง
การเพาะด้วง
การเลี้ยงด้วง


อุปกรณ์เพาะเลี้ยงด้วงที่สามารถหาได้ง่ายๆใกล้ตัว


ประโยชน์ของด้วง

ประโยชน์ของด้วง
ประโยชน์ของด้วงนั้นมีหลายประการ แยกเป็น 1.ต่อการเกษตร 2.ความรู้สึก 3.การศึกษา
1.ต่อการเกษตร
ด้วงใน3ตระกูลหลัก คือ ด้วงกว่าง ด้วงคีม ด้วงดอกไม้ ยกเว้นด้วงแรด ตัวอ่อน จะไม่กัดกินรากไม้ และยังช่วยย่อยสลายมูลสัตว์ ไม้ผุที่ตายแล้ว ให้กลายเป็นดินอย่างรวดเร็ว แล้วยังด้วงดอกไม้ ที่ดูดกิน น้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ บนดอย ยังช่วยกระจายเกสรได้อย่างดีบนดอยสูง
2.ต่อความรู้สึก
ด้วงนั้น คนไทยเริ่มนิยมเลี้ยงและเพาะด้วง เป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น แต่ในเมื่อก่อนคนไทยภาคเหนือ ก็มีการชนกว่างเป็นประเพณีทุกเข้าพรรษาอยุ่แล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน และเพิ่มความรับผิดชอบให้ผู้เลี้ยงเพราะต้องคอยดูแลด้วง และคอยพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ
3.การศึกษา
ในการศึกษา เกี่ยวกับด้วง ในสาขาวิชา กีฏวิทยา ด้วงก็มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะจะมีการให้เก็บรวบรวมตัวอย่างแมลงส่ง และ ยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแมลงด้วยตัวเอง เช่น การเพาะ เลี้ยง ฯลฯ ทำให้ต้องคอยพัฒนาตัวเองและสูตรการเพาะเลี้ยงไปเรื่อยๆ

แหล่งที่อยู่อาศัยของด้วง
ด้วงแต่ละชนิดจะมีแหล่งที่อยู่อาศัยไม่เหมือนกัน การที่เราจะตามหาด้วงแต่ละชนิดก็ต้องรู้ที่หลบอาศัยของมันก่อน เราจะแบ่งเป็นข้อๆดังนี้คือ 1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด 2.ด้วงคีม 3.ด้วงดอกไม้ 4.อื่นๆ
1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด
ด้วงกว่างและด้วงแรด ปกติสามารถพบได้ทั่วไปหลังด้วงบินมาเล่นไฟ แต่ในธรรมชาติ ด้วงกว่างจะดูดกินน้ำยางที่ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นหางนกยูง พญาไร้ใบ ไผ่ เป็นต้น ส่วนด้วงแรดจะอยู่ในต้นไม้ที่วางไข่และผสมพันธุ์และตายในนั้น เช่น ต้นมะพร้าว ปาล์ม ส่วนด้วงแรดมองโกล จะอยู่ตามใต้นดินใต้ราก โคนต้นของ พญาเสือโคร่ง
2.ด้วงคีม
ด้วงคีม ปกติสามารถพบได้เมื่อบินมาเล่นไฟเหมือนกัน อีกวิธีคือหาตามไม้ผุหรือใต้ไม้ผุ และ ยังพบได้เมื่อกินน้ำยางวที่ต้นก่อต่างๆในตอนกลางคืน แต่ตอนกลางวันจะหลบตัวตามซอกไม้ในต้นก่อครับ หรือบางชนิดอาจชอบอยู่ตามดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำยาง หรืออาจพบที่ต้นหนามไมยราพย์ยักษ์ครับ
3.ด้วงดอกไม้
ด้วงดอกไม้จะไม่บินเล่นไฟกลางคืน แต่จะออกบินตอนกลางวันเมื่อแดดออก ส่วนที่หากินจะชอบอยู่ตามต้นไม้ผล ที่มีผลไม้สุกคาต้น เช่นต้นตะขบ มะม่วง เป็นต้น
4.อื่นๆ
ด้วงอื่นๆ เช่น ด้วงมูลสัตว์ จะชอบอยู่ตามกองมูลสัตว์เช่น มูลวัว และช้าง แมลงทับจะอยู่ตามต้นที่หากินเช่น ต้นปอ ต้นมะขามเทศ


Friday, July 19, 2013

การเลี้ยงด้วงคีมกระทิงดำ

ระดับความเชื่องของกระทิงดำ 10 ตัว จะมี 1ตัวที่ดุ ครับ

นิสัยส่วนใหญ่ของกระทิงดำจะดุไม่มากครับ คือระดับกลางๆ

แต่ถ้าชอบด้วงไม่ดุเลย ผมแนะนำ เคอวิเดนครับเชื่องมาก จับเล่นได้ไม่หนีบ

คีมก็คล้ายๆกัน ไม่รู้ว่าชอบรึปล่าว







ชื่อวิทยาศาสตร์ Dorcus antaeus
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในโซนเอเซีย ตั้งแต่ มาเลเซีย ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม พม่า จีน อินเดีย ภูฐาน

จะบอกว่าเป็นด้วงยอดนิยมในช่วง 20 ปีที่แล้วก็ว่าได้
กระทิงดำของไทยเคยได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง เพราะการหากระทิงดำจากอินเดีย พม่า และมาเลย์ (ซึ่งสวยและใหญ่กว่า) ยังเป็นเรื่องยาก
มีคนเล่าให้ฟังว่าช่วงแรกที่ด้วงญี่ปุ่นบูมนั้น กระทิงดำของไทยส่งออกสูงถึง 1000 คู่/ปี สนนราคาแข่งกันที่ 3,000-10,000 บาทตามขนาด
รวมๆน่าจะมีด้วงชนิดนี้ไปญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 10,000คู่แล้ว

มาถึงบันทึกฉบับนี้
ผมเพาะกระทิงดำมา 3-4 ปีเห็นจะได้
ด้วงคุ้นเคยของไทยตัวนี้ที่สามารถใหญ่ได้ถึง 85มม. ในราคาเกือบหมื่นบาท
ความสวยงามจัดว่าเข้าขั้น ถ้าได้ด้วงขนาดใหญ่หรือฟอร์มครบนะ
ในปีแรกๆกว่าจะได้ไข่มาซักฟองต้องบอกว่ายากมาก ลองแถบทุกวิธี ไม่ว่าจะตามที่ญี่ปุ่นแนะนำหรือตามหนังสือบอกไว้
กว่าจะพบวิธีหรือชนิดของวัสดุที่ถูกต้องก็กินเวลาไปนานทีเดียว

ด้วงคีมกระทิงดำไข่ได้ 2 แบบ ในขอนไม้ผุและในวัสดุรองพื้น
ต้องใช้ขอนนิ่มเท่านั้น สำหรับวัสดุรองพื้นแนะนำให้ใช้ Lmat pro หรือ ELmat เท่านั้น

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากขั้นตอนวางไข่ผ่านไป
มันเข้าสู่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้หนอนออกมาใหญ่ที่สุด

ประเด็นที่สำคัญในช่วงนี้มีหลายปัจจัย
1.อุณหภูมิ ต้องเย็น เย็น และเย็น - เป็นประเด็นที่ยากที่สุดในบ้านเรา กับอากาศเมืองร้อนแบบนี้ แต่ไฟฟ้ามี แอร์มี ลุยได้!
อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 15-24 องศา ตามหนังสือว่าไว้

2.อาหารต้องใช่ สารอาหารต้องครบ ลองสูตรอาหารมันทุกสูตรที่มีคนบอกมานั่นแหละครับ กว่าจะรู้ว่าใช่หรือไม่ใช่สูตรนึงกินเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะต้องลองให้หนอนทานจนออกมาเป็นตัวจริงๆ แต่ก็ลุยเหมือนกัน หนอนมีป้อนไม่อั้น
อาหารที่เหมาะสมที่สุดคือเชื้อเห็ดนางฟ้า และเชื้อเห็ดนางฟ้าดำ เห็ดอื่นลองได้ แต่ไม่ใช่แน่นอน

3.ลักษณะเนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ไม่ใช่มันคือไม่ใช่ เพราะถ้าเนื้อไม้นั้นหนอนไม่ทาน ต่อให้อาหารครบ หนอนก็สามารถตายในกระปุกนั้นได้ครับ
ไม้ที่ดีที่สุดคือขี้เลื่อยไม้ก่อหรือต้นโอ๊ค แต่มันเป็นไม้สงวน ของรองลงมาคือไม้ทะโล้ ใช้แทนได้

4.ความมืด เงียบ สงบ - ปัจจัยที่ยากที่สุดสำหรับนักเพาะรุ่นจิ๋ว เพราะความอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง ต้องท่องไว้ในใจว่า อยากได้ตัวใหญ่ ต้องอดทนรอ
พื้นที่ที่ดีที่สุด ต้องมืดสนิท ไม่มีแรงสั่นสะเทือน วางไว้ในที่ไม่มีคนเดินผ่านเลย

5.ขนาดบรรจุของกระปุก - สรุปได้เลยว่า 1500-2500cc. คือขนาดที่ถูกต้องสำหรับตัวผู้แล้ว เล็กกว่านี้อาหารไม่พอ เปลี่ยนกระปุกบ่อย รบกวนหนอนบ่อยด้วย


กระทิงดำตัวนี้คือตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เพาะได้ในปัจจุบัน ขนาด 56มม.
ข้อมูลเบื้องต้น
ก.ค. 54 เริ่มเพาะ [WDxWD]
ส.ค. 54 ได้ไข่
ก.ย. 54 หนอนระยะ 1 เลี้ยงกระปุก 600cc.
ต.ค. 54 หนอนระยะ 2 เลี้ยงกระปุก 600cc
ธ.ค. 55 หนอนระยะ 3 เลี้ยงกระปุกเห็ด 1500cc
มี.ค. 55 เปลี่ยนอาหาร
มิ.ย. 55 เปลี่ยนอาหาร
ก.ย. 55 เปลี่ยนอาหาร น้ำหนัก 19 กรัม
พ.ย. 55 ทำโพรง
ธ.ค. 55 ออกจากดักแด้


ตัวนี้เลี้ยงพร้อมกัน แต่ว่าไม่ได้เปลี่ยนอาหาร จนเชื้อเห็ดย่อยกลายเป็นสีดำ
ขนาดที่ได้เลยเล็กกว่ามาก


น่าดีใจ ถ้าให้บอกว่าด้วงกระทิงตัวใหญ่ 2 ชนิดยอดนิยมอยู่ในบ้านเราทั้ง 2 ชนิดเลย
นั่นคือด้วงคีมเคอร์วิเดนส์และด้วงคีมกระทิงดำ

แต่น่าเสียใจ ที่การเพาะให้ได้ขนาดเท่าตัวจากธรรมชาติในเมืองไทยยังไม่เคยเกิดขึ้น
เป็นเหมือนด่านใหญ่ที่ยังไม่มีใครผ่านไปได้

สำหรับนักเพาะที่ได้อ่านกระทู้นี้แล้ว จงรวบรวมสมัครพรรคพวกและเหล่าจอมยุทธนักเพาะทั่วหล้า
มาทำลายกำแพงที่ขวางอยู่นี้เถอะ

ด้วงดอกไม้มันบ้าน

ชื่อไทย: ด้วงดอกไม้มันบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Protaetia acuminata (Frabicius, 1775)
ขนาด: 12-18 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: อินโดนีเซีย , พม่า , มาเลเซีย , ไทย พบได้ทุกภาค
ภาพประกอบ:

 ด้วงดอกไม้มันบ้าน

อันดับ       Coleoptera

วงศ์          Scarabaeidae      วงศ์ย่อย Cetoniinae

ชื่อวิทยาศาสตร์   Urbania acuminate

                 ด้วงดอกไม้มันบ้าน เป็นด้วงดอกไม้ขนาดเล็ก มีขนาด 12-18 มิลลิเมตร ลำตัวสีดำแต้มด้วยลวดลายสีขาว เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างกันที่เพศผู้มีหนามที่แข้งของขาคู่หน้า 1 อัน เพศเมียมี  2-3  อัน

                ตัวเต็มวัย พบกินผลไม้สุกเช่น กล้วย ฝรั่ง เขตแพร่กระจาย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ลาว และประเทศไทย (พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย)  ตัวอ่อนมักพบอยู่บริเวณกองปุ๋ยหมัก หรือท่อนไม้ผุ

 ด้วงมีวงจรชีวิต 4 ขั้นตอน (complete metamorphosis) คือ          
        ระยะที่ 1 ใข่

        ระยะที่ 2 ฟักออกมาเป็นตัวหนอน

         ระยะที่ 3 เข้าดักแด้

         ระยะที่ 4 ออกจากดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย







เพาะเลี้ยงยังไงครับตัวนี้
-ต้องใช้กล่องเพาะเลี้ยงกว้าง/ยาว/สูงเท่าไร
-ดินที่เพาะเลี้ยงควรเป็นแบบไหน


ง่ายๆเลยครับเจ้าพวกนี้ ปูหลวมๆ หน่อยครับ ใส่ดิน ใบไม้ผุ กล่อง ลึกหน่อยน่ะครับ สูงประมาณ 15-30 กว้าง 15 ก็อยู่แล้วล่ะครับ

ดินดำ ใส่ใบไม้ผุ ใส่มูลสัตว์ก็ใช้ได้แล้วล่ะครับ

ด้วงดอกไม้มันบ้าน
เลี้ยงง่ายแต่บินไว ต้องระวัง

ด้วงดอกไม้ดำแหลม Thaumastopeus nigritus

ด้วงดอกไม้ดำแหลม  haumastopeus nigritus 

เป็นด้วงขนาดกลาง มีสำดำมัน ขนาดประมาณ27-30mm. ด้วงชนิดนี้ยังแยกเพศไม่ได้เนื่องจากผมมีเจ้านี่เพียงแค่ตัวเดียวจึงหาตัวเปรียบเทียบไม่ได้
 แต่ตอนนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาหาข้อมูล แต่ตัวอ่อนเลี้ยงง่ายเหมือนด้วงดอกไม้ทั่วๆไปคือกินขี้เลื่อยผสมมูลสัตว์หรือดินดำ พบเห็นได้ทั่วไป
ในกรุงเทพฯมีพบบ้างตามแถบชานเมือง

 ด้วงดอกไม้ดำแหลม

       อันดับ      Coleoptera    
      วงศ์           Scarabaeidae    
      วงศ์ย่อย        Cetoniinae    
      ชื่อวิทยาศาสตร์      Thaumastopeus nigritus    




                                                                                                                              
  
             ด้วงดอกไม้ดำแหลม เป็นด้วงดอกไม้ที่พบได้ตั้งแต่ประเทศ อินเดีย พม่า ลาว มาเลย์เซีย อินโดนีเซียและในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ยอดดอยสูงสุดอย่างยอดดอยอินทนนทน์  และแม้ในกรุงเทพมหานครแถบชานเมืองก็ยังพบด้วงดอกไม้ดำแหลมได้บ่อยครั้ง ด้วงดอกไม้ดำแหลมเพศผู้และเพศเมียมีขนาดใกล้เคียงกันคือ 27-30 มม. ด้วงดอกไม้ในสกุล Thaumastopeus sp.  เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันที่ส่วน tibia ของขาหน้าเพศผู้จะมีหนามขนาดเล็กและเรียวกว่าขาของเพศเมีย
         
                 
   

                  เพศเมียจะวางไข่ในเศษซากพืชหรือแม้แต่ในทางมะพร้าวสดที่มีเศษซากพืชร่วงอยู่ภายใน จากนั้นตัวอ่อนจะกินเศษซากพืชเหล่านั้น เมื่อใกล้เข้าสู่ระยะดักแด้ตัวหนอนจะสร้างกระเปาะจากเศษซากพืชเหล่านั้นโดยใช้วัสดุที่ละเอียดที่สุดล้อมรอบตัวเมื่อกระเปาะแห้งจะเป็นเกราะป้องกันจากศัตรูได้อย่างดี เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะกระเปาะดักแด้ออกมาเพื่อหากิน อาหารส่วนมากจะเป็นยางไม้และผลไม้ เช่น เนื้อของผลลำไย จึงเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งของเกษตรกรที่ทำสวนลำไย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการระบาดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อผลผลิตลำไย

      สีดำเหมือนนิลของมัน ทำให้ด้วงดอกไม้ดำแหลมเป็นแมลงที่มีเสน่ห์ และเป็นแมลงสวยงามอีกชนิดหนึ่ง

ด้วงดอกไม้จุดดาวใหญ่ พบกินชมพู่สุกในกรุงเทพฯ เป็นด้วงดอกไม้ที่น่าเพาะเลี้ยงได้ไม่ยาก Large white spotted flower beetle, Protaetia niveoguttata


ชื่อไทย: ด้วงดอกไม้จุดดาวใหญ่
ชื่อสามัญ: 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Protaetia nevioguttata(Janson, 1876)
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: 20-25 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทยพบทั่วไปตามภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ

ภาพประกอบ:






Protaetia niveoguttata
Janson, 1876
        
Deep green, with metallic suffusion above, with some white spots on clypeus, pronotum and scutellum; clypeus short, rather quadrate, strongly punctured, slightly shinning; pronotum and elytra scarcely punctured. Male front tibiae simple, the spurs of hind tibiae are always sharper and shorter. Female, the front tibiae armed with two to three short teeth. Length 20-24 mm. Distribution Vietnam, Laos, Thailand (Bangkok. Chiang Mai).
        
ด้วง ดอกไม้จุดดาวใหญ่ ตัวเต็มวัยมีสีเขียวคล้ำ มีสีเหลือบโลหะด้านบน ที่หัวกปล้องแรก ปีก และจุดหมุนปีกมีจุดสีขาวขนาดข้นข้างใหญ่กระจาย เพศผู้มีแข้งขอขาคู่หน้าเรียบมักไม่มีหนาม ขาคู่หลังปลายมีหนามค่อนข้างแหลมใหญ่กว่าในเพศเมีย เพศเมียที่แข้งขาคู่หน้ามีหนามเล็ก 2-3 อัน ทั้งสองเพศมีขนาดใกล้เคียงกันยาว 20-24 มิลลิเมตร เขตแพร่กระจาย ในเวียดนาม ลาว และไทย พบกินชมพูสุกที่ต้นหน้าบ้านผู้เขียนในกรุงเทพฯ และมีพบที่เชียงใหม่ เป็นด้วงดอกไม้ขนาดกลางน่าสนใจสำหรับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงด้วง สามารถหาได้ตามผลไม้สุกคาต้นบ้างที่หล่นตามพื้นบ้าง ขอให้โชคดีครับ

Tuesday, July 16, 2013

ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุส Cyclommatus tarandus

Cyclommatus tarandus ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุส
ถิ่นกำเนิด ::

  • เกาะบอร์เนียว กาลิมันตัน  Cyclommatus tarandus
  • ประเทศมาเลเซีย Cyclommatus tarandus stenosomus

ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 65 มม.
ระดับความหายาก :: หาได้ง่าย
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2

จุดเด่น ::
  • ลำตัวมีสีแดง มัน ความยาวของช่วงตัวและคีมมีขนาดใกล้เคียงกัน
  • ถ้า ฟอร์มคีมครบจะเป็นแบบในภาพตัวอย่าง จะมีหยักเขี้ยวยื่นออกมา 2 จุด และช่วงปลายจะเป็นฟันซี่เล็ก แต่ถ้าฟอร์มคีมไม่ครบ ฟันหยักจะเล็กหรือไม่มีโผล่ออกมา
  • เป็นด้วงคีมที่ค่อนข้างขี้กลัว ถ้าถูกรบกวนจะวิ่งหนี ควรเลี้ยงในที่สงบและไม่ควรรบกวนขณะเลี้ยง


ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 600-1500 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งด้านในขอนไม้ และบริเวณโดยรอบผิวขอนไม้
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น ตัวเมียสามารถกัดไม้เป็นโพรงเพื่อมุดเข้าไปในท่อนไม้และทำรังวางไข่ด้านใน ได้ บางครั้งกัดรอบๆผิวไม้เพื่อวางไข่ การใส่ไม้ผุควรกลบทับด้วย เพราะตัวเมียชอบขุดเจาะลงไปด้านในรวมไปถึงบริเวณโดยรอบขอนไม้

อุณหภูมิ ::
  • best 16-22C
  • normal 23-26C
  • poor 27-29C


ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 30-40 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
  • เพศผู้ 6-10 เดือน
  • เพศเมีย 5-9 เดือน

อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 5-10 เดือน
  • เพศเมีย 5-8 เดือน

อาหารตัวอ่อน
  • ELmat
  • เชื้อเห็ดนางฟ้า


ด้วงคีมเนื้อทรายทาแรนดุสสามารถเป็นด้วงคีมเริ่มต้นสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง ได้ตัวนึง เพราะสามารถออกไข่ได้ง่าย ผสมพันธุ์ได้ง่าย ในเซ็ทเลี้ยงไม่จำเป็นต้องใส่ขอนไม้ก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว รองพื้นด้วย Lmat pro หนาประมาณ 15-20 ซม. แล้วปิดทับหน้าด้วยเศษไม้ก็เพียงพอ
หลังจากเลี้ยงไปประมาณ 4-5 สัปดาห์จะเริ่มเห็นรอยตัวอ่อนที่ข้างกล่อง ซึ่งจะแยกออกมาเลี้ยงในกระปุกหรือเลี้ยงรวมในกล่องขนาดใหญ่ก็ได้
ตัวอ่อนทาน ELmat pro เป็นอาหาร หรือสามารถใช้เชื้อเห็ดนางฟ้าเป็นอาหารได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลเป็นพิเศษเพราะตัวอ่อนอาจจะไม่ทานเชื้อและตายได้
ตัวเต็มวัยมีระยะพักตัวนานประมาณ 4-5 เดือน ก่อนที่จะสามารถผสมพันธุ์ได้
เพศผู้ขนาดใหญ่มักพบปัญหาทานอาหารไม่ได้และจะตายในที่สุด ควรใช้แท่นรองเยลลี่หรือวางอาหารไว้หลายจุดบริเวณกลางตู้ อย่านำอาหารไปวางไว้ที่มุมตู้ เพราะอาจจะทานไม่ได้เพราะติดปลายคีมที่มีขนาดยาวเกินไปนั่นเอง และไม่ควรจับเล่นบ่อยเนื่องจากน้ำหนักของช่วงคีมที่มีสูง อาจทำให้ตัวด้วงหมดแรงและตายได้เร็วขึ้น



ด้วงคีมบูด้า Prosopocoilus buddha

Prosopocoilus buddha ด้วงคีมบูด้า


ถิ่นกำเนิด ::

  • ประเทศไทย Prosopocoilus buddha buddha
  • เกาะเซเลเบส ประเทศอินโดนีเซีย  Prosopocoilus buddha patricius
  • เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus buddha erberi
  • เกาะบอร์เนียว Prosopocoilus buddha annae
  • เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus buddha javaensis
  • เกาะคามิกวิน ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha babuyanensis
  • เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha ebeninus
  • เกาะพาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์ Prosopocoilus buddha palawanicus
  • ประเทศเวียตนาม Prosopocoilus buddha approximatus

ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 58มม.
ระดับความหายาก :: หาได้ง่าย
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2

จุดเด่น ::
  • ด้วงคีมบูด้ามีสีดำ เพศผู้มีลักษณะคีม 3 แบบ สั้น กลางและยาว
  • ใน คีมยาวทั้ง 2 ข้างเขี้ยวจะมีหยักที่ไม่เท่ากัน บางครั้งสามารถสังเกตอย่างเห็นได้ชัด แต่สายพันธุ์ย่อย javaensis จะมีเขี้ยวทั้งสองข้างสมมาตรกัน
  • เป็นด้วงคีมขนาดเล็กที่พบได้ง่ายทั่วไป

ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดเล็ก-กลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 400-800 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ สามารถใช้ขอนขนาดเล็ก-กลางได้
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น

อุณหภูมิ ::
  • best 18-24C
  • normal 25-28C
  • poor 29-32C

ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 20-40 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::
  • เพศผู้ 3-8 เดือน
  • เพศเมีย 3-8 เดือน
อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 5-8 เดือน
  • เพศเมีย 4-8 เดือน

อาหารตัวอ่อน
  • ELmat


ด้วงคีมบูด้าเป็นด้วงคีมเล็กที่จัดว่าเลี้ยงได้ง่าย ไม่ต้องการอุณหภูมิต่ำมากก็สามารถเพาะได้
แต่หากต้องการเพศผู้ที่มีคีมยาวควรเลี้ยงในที่เย็น
สามารถเพาะด้วยวัสดุรองพื้นเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ปริมาณตัวอ่อนอาจจะไม่สูงมาก
ควรใส่ท่อนไม้ขนาดเล็ก-กลางลงไปด้วยอย่างน้อย 1 ขอน เพื่อเพิ่มปริมาณของตัวอ่อนที่จะได้รับ
ตัวเมียชอบกัดที่บริเวณผิวและขุดเข้าไปในไม้เพื่อวางไข่

ตัวด้วงไม่ค่อยดุมาก สามารถเลี้ยงรวมกันได้ ยกเว้นเพศผู้ที่มีคีมสั้นสามารถกัดขาตัวเมียจนขาดได้ ต้องระวังเพิ่มขึ้นหากจะเลี้ยงรวมกัน

Prosopocoilus astacoides ด้วงคีมแดง


Prosopocoilus astacoides astacoides


ถิ่นกำเนิด ::

    ประเทศไทย ภาคเหนือ ,ประเทศพม่า ,ประเทศเนปาล ,ประเทศภูฏาน Prosopocoilus astacoides astacoides
    ประเทศไทย ภาคกลาง? ภาคตะวันตก? Prosopocoilus astacoides castaneus (ยังอยู่ระหว่างศึกษา)
    ประเทศมาเลเซีย (คาเมร่อนไฮแลนด์) เกาะสุมาตรา Prosopocoilus astacoides elaphus
    ประเทศจีนตอนใต้ Prosopocoilus astacoides dubernardi
    เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus astacoides cinnamomeus
    ประเทศเวียตนาม Prosopocoilus astacoides karubei
    ประเทศจีน ภาคกลาง ภาคเหนือ ,เกาะไต้หวัน Prosopocoilus astacoides blanchardi
    เกาะเนียส ประเทศอินโดนีเซีย Prosopocoilus astacoides pallidipennis


ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 92มม.
ระดับความหายาก :: หาได้ง่าย
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 2

จุดเด่น ::

    ด้วงคีมแดงเป็นด้วงคีมขนาดกลางที่มีสีสันสวยงาม ทั้งตัวมีสีแดงจัด และสีส้มในสายพันธุ์ย่อยบางสายพันธุ์
    คีมมี 2 ฟอร์ม ได้แก่ ฟอร์มสั้น จะมีฟันเป็นหยักจำนวนมาก และคีมจะสั้น , ฟอร์มยาว คีมจะยืดออกไปข้างหน้า มีหยักในคีมบ้างเล็กน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดสำคัญสำหรับการดูเพื่อจำแนกชนิดย่อย
    ด้วงคีมแดงจัดว่าหาได้ง่ายและอาศัยอยู่ในหลายระดับความสูง ตั้งแต่ 500-1500ม. จากระดับน้ำทะเล
    ในช่วงพักตัวค่อนข้างห่วงถิ่น การเลี้ยงรวมกันในช่วงนี้อาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายได้


ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 600-1500 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ ใช้ไม้ผุขนาดเล็ก-กลาง ไม่ควรใช้ไม้ที่มีแกน
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุและในวัสดุรองพื้น
อุณหภูมิ ::

    best 18-21C
    normal 22-26C
    poor 27-32C


ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 30-50 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::

    เพศผู้ 6-10 เดือน
    เพศเมีย 6-10 เดือน

อายุตัวอ่อน ::

    เพศผู้ 6-10 เดือน
    เพศเมีย 5-8 เดือน


อาหารตัวอ่อน

    ELmat
    เชื้อเห็ดนางฟ้า



ด้วงคีมแดงเป็นด้วงคีมพื้นถิ่นในเมืองไทยอีก 1 ชนิดที่สามารถหาได้ง่าย ราคาถูก มีสีสวยงามน่าเลี้ยงสำหรับนักเลี้ยงหลายๆคน แต่ก่อนจะเลี้ยงด้วงคีมชนิดนี้ควรศึกษาข้อมูลเล็กน้อย เนื่องจากการเลี้ยงรวมมีโอกาสที่ด้วงจะต่อสู้กันได้สูง และอุณหภูมิในการเลี้ยงมีผลอย่างมากต่อตัวเต็มวัยที่จะออกมา หากเลี้ยงตัวอ่อนที่อุณหภูมิสูงเกิน 22 องศา มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้ฟอร์มคีมสั้น

ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ง่าย รองพื้นด้วยวัสดุรองพื้น Lmat pro หรือ ELmat pro เพียงอย่างเดียวก็สามารถเพาะไข่และตัวอ่อนได้แล้ว
ตัวอ่อนสามารถเลี้ยงรวมกันในถังเลี้ยงขนาดใหญ่ได้ หากต้องการเพิ่มน้ำหนักให้เลี้ยงด้วยเชื้อเห็ดนางฟ้า แต่มีโอกาสที่ตัวอ่อนจะไม่ทานเชื้อด้วย
หากใครสนใจเลี้ยงด้วงคีมแดง อาจจะเริ่มต้นจากด้วงคีมแดงของไทยก่อน หลังจากเพาะเลี้ยงได้สำเร็จจึงค่อยพัฒนาหาด้วงคีมแดงสายพันธุ์ย่อยจากต่างประเทศมาเลี้ยงต่อไปได้ สายพันธุ์ย่อยที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศได้แก่ ssp.elaphus ,ssp.cinnamomeus เนื่องมาจาก 2 สายพันธุ์ย่อยนี้สามารถเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่ได้มากกว่า 70มม. และอาจจะใหญ่ได้ถึง 90มม.

ถ้าเริ่มมีประสบการณ์ในการเลี้ยงด้วงมาแล้วระดับหนึ่ง ด้วงคีมแดงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจตัวนึง มีความท้าทายให้เลี้ยงเพื่อให้ได้ฟอร์มคีมยาว ซึ่งต้องรียเพิ่มน้ำหนักให้เร็วที่สุดในช่วงตัวอ่อน เพราะอายุของตัวอ่อนไม่ยาวมากนั่นเอง

ด้วงคีมละมั่งแมนดิบูราลิส Hexarthrius mandibularis

ถิ่นกำเนิด ::
    เกาะสุมาตรา Hexarthrius mandibularis sumatranus
    เกาะบอร์เนียว Hexarthrius mandibularis mandibularis

ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 119มม. (ssp.sumatranus)
ระดับความหายาก :: ปานกลาง
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 3

จุดเด่น ::

    เป็นด้วงคีมละมั่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวใกล้เคียงด้วงคีมยีราฟซึ่งมีขนาดยาวที่สุดในโลก
    ช่วงหัวสามารถกว้างได้ถึง 3ซม. ช่วงคีมยาวได้ถึง 5ซม.
    เพศผู้มีคีมยืดยาวเรียว โดยส่วนมากมีฟันหยัก 1 หยักสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
    เป็นด้วงคีมที่ดุ ป้องกันตัวเอง
    ช่วงหัวและอกมีสีดำออกแดง ปีกมีสีดำออกแดง บางตัวจะมีสีส้มแดงแทรกอยู่ที่ขอบปีกจางๆ


ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง และตู้เลี้ยงขนาดใหญ่สำหรับเซ็ทวางไข่ของตัวเมีย
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 600-3000 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ สามารถใช้ท่อนไม้ที่มีแกนไม้ได้
ลักษณะการวางไข่ :: วางไข่เฉพาะที่ผิวไม้ผุเท่านั้น ตัวเมียไม่ขุดเข้าไปในไม้ ผิวไม้โดยรอบมีความสำคัญมากกว่าเนื้อภายใน
อุณหภูมิ ::

    best 15-19C
    normal 20-24C
    poor 25-28C


ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 15-25 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::

    เพศผู้ 6-10 เดือน
    เพศเมีย 6-10 เดือน

อายุตัวอ่อน ::

    เพศผู้ 8-12 เดือน
    เพศเมีย 7-11 เดือน


อาหารตัวอ่อน

    ELmat
    เชื้อเห็ดคาวาระ


Siambeetle Tip
เป็นหนึ่งในด้วงที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะมีการเพาะเลี้ยงมานานกว่า 10 ปีแล้ว เพราะรูปร่างและทรงเขี้ยวที่สวย เท่ห์และมีเสน่ห์ รวมไปถึงขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ตัวด้วงสามารถอยู่ได้นานเกือบปีหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี
ตัวผู้และตัวเมียดุและป้องกันตัวเองสูง หากยังไม่ถึงเวลาผสมพันธุ์ ไม่ควรเลี้ยงรวมกัน เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถูกทำร้ายจนตาย
ทั้งเพศผู้และเมียมีระยะเวลาพักตัวหลังจากเกิดประมาณ 6-7เดือน

ในการผสมพันธุ์ควรเลี้ยงและดูแลอย่างใกล้ชิด หากสามารถผสมพันธุ์ได้สำเร็จแล้วควรแยกเลี้ยงกันตลอด
ในการวางไข่ตัวเมียต้องการสารอาหารสูง ควรเสริมด้วยเยลลี่โปรตีนชนิดต่างๆสลับกล้วยน้ำว้าและจิ้งหรีดตายใหม่สดๆบ้าง

ตัวเมียวางไข่เฉพาะที่ผิวเปลือกไม้เท่านั้น ควรดูแลรักษาสภาพผิวไม้ให้ดี พ่นน้ำใส่ขอนไม้เป็นประจำช่วยทำให้ไม้คงสภาพความผุได้ ถ้าขอนไม้แห้งเกินไปจะทำให้ด้วงกัดผิวไม้ไม่ได้
ด้วงคีมละมั่งแมนดิบูราลิสเป็นด้วงคีมในที่สูง ถิ่นที่อยู่อาศัยจะมีความสูงมากกว่า 1000ม. จากระดับน้ำทะเล จึงควรเลี้ยงในที่มีอุณหภูมิต่ำ ประมาณ 20-22องศา คืออุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสม หากต้องการเลี้ยงตัวอ่อนให้ได้ตัวเต็มวัยที่มีขนาดใหญ่ควรเลี้ยงที่อุณหภูมิ 15-19 องศาเซลเซียส

เพาะเลี้ยงได้โดย ::

    สำหรับรองพื้น
    สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน
    ไม้ผุขนาด M ,L สำหรับวางไข่
    เชื้อเห็ดคาวาระ สำหรับเพิ่มน้ำหนักตัวอ่อน

Sunday, July 7, 2013

ด้วงงวงมะพร้าว ทอดในกระทะน้ำมันร้อน อร่อยล้ำ

ด้วงงวงมะพร้าวโปรตีนริมสวน


การเป็นชาวบ้าน ธรรมดาไม่มีงานประจำ ไม่มีเงินเดือน ทำให้มองความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านในหลายด้านชัดเจนขึ้น สังคมเล็กๆ แห่งนี้สอนผมหลายอย่าง นับเนื่องแต่วัยเด็กกระทั่งปัจจุบัน    
ยุคนี้เป็นยุคของความเปลี่ยนแปลง เรือกสวนไร่นาแบบดั้งเดิมหดหายไป กลายเป็นสวนเชิงเดี่ยว ท้องนากลายเป็นสวนท้องร่อง


ก่อน หน้านี้ประมาณ ๑๐ - ๒๐ ปี สวนท้องร่องคือกลุ่มของคนปลูกมะพร้าวเพื่อขายผลและทำน้ำตาลปี๊บ สวนท้องร่องที่เคยเต็มไปด้วยมะพร้าวเพิ่งมาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งกลายเป็นสวน ปาล์มน้ำมันเมื่อ ๓-๕ ปีที่ผ่านมานี่เอง 

ชาวสวนจ้างตัดมะพร้าวออก อาจจะขายต้นหรือยอดอ่อนกลายเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของมนุษย์

ต้น และยอดอ่อนที่ยังเหลือถูกทิ้งกองไว้อย่างเดิมโดยไม่มีอะไรรบกวนไม่นาน หากกลับไปที่กองเศษพวกนั้น จะได้ยินเสียงสวบสาบภายในยอดอ่อนที่เริ่มเน่าเปื่อย แมลงบางชนิดกำลังกัดกินอยู่ข้างใน

มนุษย์รู้จักการเอาตัวรอดในยุคแรก ของการก่อนกำเนิด อาจเพราะการรู้จักสังเกตรอบตัว จดจำและบอกต่อ กลายเป็นตำรับตำราให้คนรุ่นต่อมาได้ถือเป็นวิถี

ในยอดอ่อนของต้น มะพร้าวซึ่งเริ่มผุ ใช้ขวานหรือมีดพร้าตัดฉีกออกเป็นริ้วพบตัวอ่อนของด้วงชนิดหนึ่ง ขนาดกำลังอ้วนพีเพราะอาหารที่เจาะกินได้รอบตัว ปากแข็งสีน้ำตาลดำจะกัดกินเจาะชอนไชไปเรื่อยๆ พร้อมกับทิ้งเศษอาหารที่ย่อยแล้วไว้ข้างหลังเป็นการปิดทางป้องกันศัตรูไปใน ตัว

ด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงมะพร้าวจัดเป็นแมลงศัตรูพืชตระกูลปาล์ม ต้นมะพร้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งหากตัวอ่อนพวกนี้เจริญเติบโตกลายเป็นด้วงตัวเต็มวัย สามารถระบาดเข้าไปทำลายยอดอ่อนของมะพร้าวที่ยังยืนต้นให้ตายได้โดยการกัดกิน ยอดอ่อน

ธรรมชาติ ในยุคที่นักล่ากับเหยื่อมีความสมดุลกัน นกบางชนิดกินแมลงปีกแข็งพวกนี้เป็นอาหาร พืชที่มนุษย์ปลูกไว้เพื่อดำรงชีพคือพืชอาหารของสัตว์ในธรรมชาติเช่นกัน ความเชื่อมร้อยโยงใยเป็นเครือข่ายอาหารซึ่งมองไม่เห็นนี้ เป็นไปอย่างช้าๆ ในอดีต กระทั่งวงจรบางอย่างขาดสะบั้นรวดเร็วปัจจุบัน

แมลงศัตรูพืช ระบาดลุกลามไปในแต่ละท้องถิ่นล้วนมีที่มาที่ไปที่สามารถสืบเสาะได้ไม่ยาก ทว่ากลับกลายเป็นภาระของหน่วยงานทางราชการที่เข้ามาจัดการเรื่องราวแนวๆ นี้ แทนที่จะเป็นไปอย่างสอดคล้องสมดุลด้วยวิธีวิถีอย่างโบราณกาล

ครับ..วิถีโบราณหลากหลายวิธีแม้ไม่เหมาะกับยุคนี้ หากแต่บางวิธียังคงใช้ได้ตลอดกาล..
สมัย ละอ่อน, ผมเดินตามพ่อต้อยๆ เข้าสวน ตรงไปยังต้นมะพร้าวเตี้ยซึ่งโดนดัดยอดไปแล้ว เหลือกาบทางปิดปลายเอาไว้กันน้ำฝน พ่อเปิดกาบทางออกแล้วก้มลงเอาหูไปฟังเสียงจากในนั้น,ผมทำตาม ได้ยินเสียงสวบสาบดังลั่นภายในต้น จากนั้นพ่อใช้ขวานค่อยเฉาะเปลือก แกะออก แล้วความสนุกสนานก็บังเกิด
 
หนอนน้อยตัวอ่อนสีเหลืองอ่อนอ้วนพีขนาดหัวแม่โป้ง เดินกระดุ๊บกระดิ๊บไปตามช่องที่ตัวเองกัดกิน
นี่ คืออาหารโปรตีนชั้นยอดของคนบ้านสวนซึ่งมีทรัพยากรที่เอื้อให้เกิดหนอนพวกนี้ ได้เท่าที่สามารถตัดต้นมะพร้าวหรือพืชตระกูลเดียวกันให้พวกนี้ได้มาวางไข่ สร้างตัวอ่อนและเติบโต
ทาง ใต้แถบสุราษฎร์ธานีตอนล่างไปจนจรดจังหวัดสตูล มีต้นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่งอกงามริมคลองน้ำจืด ให้แป้งและให้ประโยชน์อื่นๆ หลากหลาย แต่ที่สำคัญ ลำต้นสามารถนำมาเลี้ยงหนอนด้วงพวกนี้ขายเป็นล่ำเป็นสัน เพราะราคาของหนอนด้วงในยุคนี้ ไม่ต่ำกว่ากก.ละ ๒๐๐ บาท
แพง จนคนหัวใสบางคนคิดค้นวิธีเลี้ยงโดยให้อาหารบดจากต้นพืชชนิดอื่น เพียงนำตัวเต็มวัยมาปล่อยในโรงเรือนที่ปิดมิดชิด ให้มันวางไข่ในภาชนะที่บรรจุอาหารไว้จนเต็มจากนั้นรอคอย วิธีนี้สามารถทำรายได้ให้ผู้เลี้ยงโดยไม่ต้องโค่นต้นมะพร้าวหรือต้นสาคูอีก

วิธี การเปลี่ยนจากหนอนตัวอ้วนซึ่งบางคนกินสด หากปรุงสุกเป็นอาหารหรือกับแกล้ม ปรุงง่ายๆ โดยชุบน้ำเกลือหรือเนย เหยาะพริกไทยดำกลั้วๆ ทอดในกระทะน้ำมันร้อน รอให้ผิวนอกเหลืองเข้ม กรอบนอกนุ่มใน

แค่นั้น,อร่อยล้ำ  

แม้ จะมีการจับตัวอ่อนของหนอนด้วงมาบริโภค แต่ดูเหมือนไม่ได้ลดปริมาณลงไปเลย เพราะยังมีแหล่งอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากมะพร้าวและสาคู ซึ่งหนอนด้วงพวกนี้สามารถเติบโตแพร่เผ่าพันธุ์ได้อีก

ไม่ แปลก หากจะพบว่าในแวดวงเกษตรกรรม โดยเฉพาะสวนมะพร้าวและปาล์มน้ำมันปลูกใหม่บางแปลงในบางท้องถิ่น ถูกกัดเจาะยอดอ่อนโดยด้วงชนิดนี้จนต้องมีการประกาศเป็นเขตระบาด
ต้นตอของการระบาดก็รู้ๆ กันอยู่ ใช่ไหม?
ครับ,การ เป็นชาวบ้านธรรมดาไม่มีงานประจำ ไม่มีเงินเดือน ทำให้มองความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านในหลายด้านชัดเจนขึ้น สังคมเล็กๆ แห่งนี้สอนผมหลายอย่าง ตั้งแต่วัยเด็กกระทั่งปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องหนอนตัวอ้วน ที่คลานกระดื๊บกระดื๊บอยู่ในยอดมะพร้าวซึ่งสามารถเชื่อมร้อยไปถึงสิ่งแวด ล้อมและวิถีชีวิต

ด้วงงวงมะพร้าว หรือที่ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงสาคู.

Pic_123516


ด้วงงวงมะพร้าว หรือที่ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงสาคู.

"ด้วงงวงมะพร้าว" (Pin-hole borers) ในแถบภาคใต้มักจะพบอาศัยแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ อยู่ตาม "ต้นสาคู" ผู้คนถิ่นนี้จึงต่างเรียกขานมันว่า "ด้วงสาคู" อดีตที่ผ่านมานั้น ชาวบ้านมักนำมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อลดต้นทุน
กระทั่งนักเปิบเริ่มหันมาให้ความสนใจ เนื่องจาก พบว่าในตัวมันเองมีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะ "โปรตีน" ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ ทุกวันนี้เราจึงมักจะเห็น "หนอนไม้" ชนิดดังกล่าว ขึ้นไป "นอนตัวกลม" อยู่บนแผง "รถขายแมลงทอด" ที่วิ่งอยู่ทุกหัวตลาดทั้ง กทม.และต่างจังหวัด ซึ่งสนน ราคาซื้อขายตัวเป็นๆ ตกอยู่ที่กิโลฯละถึง 250 บาท
นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า....เพื่อเป็นการเพิ่มอาชีพที่ลงทุนไม่สูงมากนัก กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ส่วนส่งเสริมสินค้าเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ เสริม ซึ่งแหล่งธรรมชาติที่ด้วงชนิดนี้ชื่นชอบฝังตัวอยู่ ก็คือ ตามต้นมะพร้าวหรือต้นสาคู แต่ถ้าเลี้ยงเชิงพาณิชย์ เพื่อป้อนขายให้กับบรรดาพ่อค้ารถแมลงทอดนั้น
...จากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองพบว่า อาหารที่ด้วงชอบและทำให้การเจริญเติบโตได้ดี ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าอาหารชนิด อื่น คือ ขุย กากมะพร้าว รำข้าว และ มันสำปะหลัง ผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์อัตราตัวผู้ 1 : ตัวเมีย 10 ตัว หลังจับคู่อยู่ร่วมกันประมาณ 10 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ จากนั้นอีก 2-3 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน แล้วเลี้ยงต่ออีก 1-2 เดือน เพื่อให้ สมาชิกใหม่มีขนาดรูปร่างตัวเขื่อง "อวบอั๋นอ้วนพี" ก็สามารถคัดส่งให้กับบรรดาพ่อค้าได้เลย
และ...หากต้องการคัดไว้ทำพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพื่อขยายประชากรต่อ ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 140 วัน ซึ่งลักษณะรูปร่างเมื่อโตเต็มวัยนั้น ด้วงเพศผู้ จะมีขนาดใกล้เคียงกับเพศเมีย แต่ มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ทั้งสองเพศจะ มีสีและจุดแต้มบนหลังหลายรูปแบบ ปีกมีเส้นเป็นร่องตามความยาว วัดความยาวตั้งแต่หัวจดท้ายประมาณ 25-28 มิลลิเมตร
หลังจากทำหน้าที่ขยายเผ่าพันธุ์ 5-6 เดือน ด้วงเหล่านี้จึงตาย ซึ่ง กว่าจะถึงวันนั้นก็สร้างกำไรให้กับผู้เลี้ยงได้มากโขเอาการ
สำหรับใครที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2940-6102 ในวันและเวลาราชการ.

ระวังสับสนกับ ด้วงแรดมะพร้าว

ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน ในภาษาใต้ (อังกฤษ: Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus

จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร

โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง

กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลกตัวหนอนในชามที่รอการบริโภค

แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน

ด้วงงวงผักตบชวา

ผักตบชวา  Eichhornia crassipes (Martius)solm-Laubach  เป็นวัชพืชน้ำประเภทข้ามปี จัดอยู่ในวงศ์ Pontederiaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ผักตบชวาถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้ง แรกเมื่อปีพ.ศ.2439  ผักตบชวาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ได้เป็นอย่างดีจึงมีการเจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ออกไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญของประเทศไทย  ในปัจจุบันจะพบการแพร่กระจายของผักตบชวาในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วทุกภาค ของประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาต่อแหล่งน้ำ ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีผลต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย
 
 

 

ด้วงงวงผักตบชวา  Neochetina spp. (Coleoptera:  Curculionidae) ประกอบด้วยด้วงงวงผักตบชวาลายแต้ม Neochetina ecihhorniae Werner และด้วงงวงผักตบชวาลายบั้ง Neochetina bruchi Hustache ถูกนำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธีตั้งแต่ปี 2520 และ 2533 จากประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียตามลำดับ ได้ทำการปลดปล่อยเพื่อใช้ในการควบคุมผักตบชวาในทุกพื้นที่ที่มีการระบาดทั่ว ประเทศมาตั้งแต่ปี 2522 และ 2534 ด้วงงวงผักตบชวาเป็นด้วงงวงขนาดกลางในวงศ์เคอร์คิวลิโอนิดี้(Family Curculionidae)ซึ่งส่วน ปากจะยื่นยาวออกมาคล้ายงวงจึงได้ถูกเรียกชื่อเป็นด้วงงวง (weevils) มีชีวิตอยู่แบบกึ่งบกกึ่งน้ำ
 
 
 
ชีพจักรและลักษณะทางชีววิทยา  ของด้วงงวงผักตบชวา

ไข่: มีลักษณะกลมรี มีขนาดความยาวสูงสุด 0.44 0.04 มิลลิเมตร และความกว้าง 0.865 0.06 มิลลิเมตร ไข่จะมีสีขาวแต่จะเหลืองเมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัวหนอน
หนอน : หนอนระยะที่ 1 มีขนาดเล็ก หัวกระโหลกกว้าง 0.25 0.03 มิลลิเมตร หนอนด้วงงวงผักตบชวาเมื่อฟักออกจากไข่จะเจาะกินลงไปในก้านใบผักตบชวาจน กระทั่ง ถึงเหง้า
ดักแด้ : ด้วงงวงผักตบชวาจะเข้าดักแด้ที่รากของต้นผักตบชวาที่มีชีวิต เท่านั้น หนอนก่อนเข้าดักแด้จะเข้าทำแผลที่รากแขนงและดึงเอารากฝอยที่อยู่รอบๆ มาทำเป็นปลอกหุ้มตัว มีลักษณะเป็นกลมๆหนอนจะเข้าดักแด้ภายในปลอกนี้
ตัวเต็มวัย : มีสีน้ำตาลเข้ม ตัวเมียมีขนาดความยาว 4.22 0.22 มิลลิเมตร ส่วนกว้างตรง pronotum 2.225 0.15 มิลลิเมตร ตัวผู้มีขนาดความยาว 3.7 1.32 มิลลิเมตร ส่วนกว้างตรงpronotum1.833 1.32 มิลลิเมตร ตัวผู้มีงวง (rostrum) ที่สั้นและโค้งน้อยกว่าตัวเมียและมีตุ่มตรงด้านล่างของ งวงมากกว่าตัวเมียตัวเต็มวัยจะออกหากินและผสมพันธุ์พร้อมทั้งวางไข่ในเวลา กลางคืนในตอนกลางวันจะพบตัวเต็มวัยตามซอกก้านใบหรือตามโคน

                                             
                                                วงจรชีวิตของด้วงงวงผักตบชวา
 
 
 
 
ระยะเวลาเจริญเติบโต
ระยะไข่ 6-9 วัน
ระยะตัวหนอน 45-50 วัน
ระยะดักแด้ 14-16 วัน
ระยะตัวเต็มวัย : ตัวผู้ 62-75 วัน
ตัวเมีย 48-70 วัน
รวม 113-150 วัน
 
 
ลักษณะการทำลายของด้วงงวงผักตบชวา

       ด้วงงวงตัวเต็มวัยจะกัดกินเนื้อเยื่อบนใบเป็นรูปสี่เหลี่ยม จนถึงกลมเป็นจุดๆ พบได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ รวมทั้งตามก้านของผักตบชวาด้วย ปกติด้วงชนิดนี้จะกัดกินผักตบชวาในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกใบใกล้กับระดับน้ำ โดยเฉพาะใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ ตัวหนอนจะชอนไชและกัดกินเนื้อเยื่อภายในก้านใบ ถ้ามีการทำลายของด้วงงวงมากใบจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา ก้านใบและเหง้าฉีกขาดเป็นแผลให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเน่าตายในที่สุด
 
 
 
ผลของการควบคุมโดยด้วงงวงผักตบชวา

      โดยปกติผักตบชวาจะสามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้เป็น 2 เท่าภายในเวลา 2 สัปดาห์ แต่จากการทำลายของด้วงงวงผักตบชวาจะช่วยลดการขยายพันธุ์ของผักตบชวาได้ ในแหล่งน้ำหนึ่งๆ ถ้ามีด้วงงวงผักตบชวาคอยควบคุมอยู่ด้วงงวงสามารถลดปริมาณผักตบชวาในแหล่งน้ำ นั้นจาก 90 % ของพื้นที่ให้เหลือเพียง 25 % ภายในระยะเวลา 5-6 ปี

"ด้วงก้นกระดก" ตัวเล็กแต่ร้ายแรง

"ด้วงก้นกระดก" ตัวเล็กแต่ร้ายแรง




          " ด้วงก้นกระดก " ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (Rove beetle) อันดับ Coleoptera วงศ์ Staphyinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด
สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Paederus fuscipes Curtis. เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ     7 มม.
ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหว ได้รวดเร็ว
และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะ อยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น    
ด้วงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า "paederin" ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อ 
    

          ด้วงชนิดนี้ชอบออกมาเล่นไฟในยามค่ำคืน โดยเฉพาะจะมีมากในฤดูฝน
ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้ หรือ ตบตีจนน้ำพิษแตก จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศรีษะ
หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ๋มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7 - 10 วัน
ควรทำความสะอาดแผลและปิดปากแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจใช้ยาสมานแผลยาทาทิงเจอร์เสลดพังพอน
หรือ ยาทาเสตียรอยด์ ยาแก้แพ้ได้ เบื้องต้นหลังจากทราบว่าสัมผัสด้วงชนิดนี้  ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ 

ด้วงกระดก

ด้วงน้ำมันดำแถบขาวกำลังบุกกินพืชตระกูลถั่ว

epicauta-waterhouseif.jpg 
 
Epicauta waterhousei
Haag-Rutenberg  
       
Head is red, other parts are dull black. Elytra bear a broad longitudinal stripe of pubescence yellowish, extending from the humeral angle towards apex of each elytron and with pubescence yellowish, narrowly along the suture, apical and lateral margins.Length 18-20 mm. Distribution: Throughout Thailand (Wiang Pa Pao, Khao Yai).Host: Groundnut, soybean, eggplants, tomato, Amaranthus spp. I found in a large number attacking legume crops at Sarika waterfall at the moment.
         ด้วงน้ำมันดำแถบขาว
มี หัวสีส้มแดง ส่วนอื่นของลำตัวมีสีเทาดำ ปีกมีแถบสีเหลืองอ่อนปนเทาซึ่งเป็นขนอ่อน พาดตามความยาวสองข้างของปีกและที่เส้นกลางปีก เป็นด้วงขนาดยาว 18-24 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ยาวกว่าเพศผู้ พบทั่วไป มีพืชอาศัยโดยเฉพาะถั่วต่างๆ มะเขือ มะเขือเทศ และผักขม เป็นต้น


mylabris-phalerata1.jpg

Mylabris cichorii
Linnaeus, 1764, a
small to medium size, is black and yellow colored. Head pronotum and elytra are dull black, the last with two broad yellow transverse bands at anterior half and posterior half, a narrow yellow band near the base not reaching the suture or the lateral margins. Length 11-17 mm.Distribution: Mediterranean to China and Thailand (Kanchanaburi, Chiang Rai). Host: Adults usually found feeding on pollens of many kinds of flowers.?Another close realated species, Mylabris phalerata Pallas, 1781, a larger size, is?black and yellow species. It is very similar to the former species in colors and appearance, but easy recognized by its larger sizes. The narrow yellow band near the base usually separated into two spots while those of the former interrupted by a narrow black sutural stripe. Length 25-34 mm. Distribution: Throughout Thailand. Host: Soybean, mung-bean, groundnut, cucurbits.
        
ด้วงน้ำมันเหลืองดำ งมีสีดำมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางที่กึ่งกลางของปีกส่วนหน้าและกึงกลางของปีก ส่วนหลัง นอกจากนี้ยังมีแถบสีเหลืองแคบๆ ใกล้ฐานปีกซึ่งแยกจากกันโดยมีแถบสีดำแคบๆ คั่นตรงกลางปีก ส่วนด้วงน้ำมันเหลืองดำใหญ่ หรือด้วงไฟเดือนห้าซึ่งมีสีและลวดลายเหมือนกันมาก แต่แตกต่างกันที่ขนาดโดยมีลำตัวยาว 25-34 มิลลิเมตรส่วนด้วงน้ำเหลืองดำตัวเล็กมีขนาดเพียง 11-17 มิลลิเมตรเท่านั้น และแถบสีเหลืองใกล้ฐานปีกในด้วงน้ำมันชนิดหลังนี้แยกห่างกันจากกันมาก


mylabis4-450.jpg

 The rainy season is the peak of the occurring of the yellow-banded blister beetles or oil beetles. A popular species of the same family in Europe is known as the spanish-fly. There are two species found in Thailand similar in colored and shaped, but different in sized. The large sized as shown above is Mylabris phalerata (ด้วงไฟเดือนห้า ด้วงน้ำน้ำมันเหลืองดำใหญ่) while the smaller one is Mylabris cichorii (ด้วง น้ำมันเสือเหลือง) Both of them often find together feeding on flowers of legumes, cotton, tomato, eggplants. Because local people get use to eat many kinds of insects, but they may not well aware of these poisonous beetles. Their bodies contain of toxic chemical especially cantharidin. People who eat them and obtain the exceeded limit of this chemical may die or serious ill.
 
ด้วง น้ำมันมักจะพบในปริมาณมากในช่วงฤดูฝน ด้วงน้ำมันชนิดที่พบในยุโรปและรู้จักกันดีมีชื่อว่า แมลงวันสเปญ ในประเทศไทยพบด้วงน้ำมันสีเหลืองดำอยู่ 2 ชนิดคือ Mylabris phalerata (ด้วงไฟเดือนห้า ด้วงน้ำน้ำมันเหลืองดำใหญ่) และอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าคือ Mylabris cichorii (ด้วงน้ำมันเสือเหลือง) ด้วง น้ำมันทั้งสองชนิดอาจจะพบอยู่ด้วยกัน ชอบกัดกินดอกของพืชหลายชนิดได้แก่พืชตระกูลถั่ว ฝ้าย มะเขือเทศ และมะเขือเป็นต้น ด้วยเหตุที่ชาวบ้านมักคุ้นเคยกับการจับแมลงมาปรุงเป็นอาหาร แต่อาจจะไม่ทราบว่าด้วงน้ำมันมีสารพิษอยู่ในตัว ถ้ากินเข้าไปเพียงไม่กี่ตัวก็จะได้รับสารพิษมากกว่าค่าปลอดภัย จะไม่สบาย ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายอย่างรุนแรงและอาจถึงตายได้

ผวา!!! "ด้วงน้ำมัน-ด้วงก้นกระดก" มีพิษอาจถึงตาย!!!


เตือน ภัยระวังด้วงน้ำมันและด้วงก้นกระดก เป็นแมลงมีพิษหากสัมผัสหรือตบตีจะถูกสารพิษทำให้เกิดอาการผื่นคันเป็นแผล พุพอง ห้ามกินเด็ดขาดเพราะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยพบด้วงมีพิษทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ทั่วไปตลอดทั้งปี ระบุคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นชนิดเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวได้รับข้อความจากอีเมล์ฉบับหนึ่งที่อ้างข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข   เตือนภัยแมลงมีพิษ ชื่อว่า "ด้วงน้ำมัน" ระบุว่า หากด้วงชนิดนี้ไต่ตามร่างกายหรือเพียงแค่สัมผัสก็จะเกิดอาการผื่นคัน   ผิวหนังเป็นแผลพุพอง  ถ้าไม่รีบรักษาแผลจะลุกลามอักเสบอย่างรวดเร็ว   เนื่องจากเป็นด้วงชนิดที่มีสารพิษอยู่ในลำตัว พบได้ตามป่าหญ้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด


นาย ทัศนัย   จีนทอง  นักวิจัยด้านแมลง  พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  อธิบายถึงอันตรายของด้วงน้ำมันว่า  ด้วงน้ำมันเป็นแมลงปีกแข็ง  แต่เมื่อเทียบกับด้วงชนิดอื่น ด้วงน้ำมันจะมีปีกอ่อนกว่าและมีขนาดกลาง  ลักษณะที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือ มีแถบสีเหลืองสลับดำอย่างละ 3  แถบขวางปีกคู่หน้า  และที่สำคัญคือ มีสารพิษอยู่ในลำตัว เมื่อด้วงน้ำมันถูกรบกวนจะปล่อยสารพิษออกมาเพื่อป้องกันตัวเอง ถ้าถูกผิวหนังจะเป็นตุ่มพุพองหรือรอยไหม้ได้
"แมลง ด้วงน้ำมันพบได้ทั่วไปในเมืองไทย  ช่วงเดือนธันวาคมจะออกมาเยอะมาก ส่วนแหล่งอาศัยและหากินจะพบตามต้นพืช เช่น ต้นโสน ต้นถั่วและต้นฝ้าย โดยปกติแล้วจะไม่กัดคน หากไม่ไปตบตีก็ไม่เป็นอันตราย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรรับประทาน เพราะจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเคยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับคนภาคเหนือที่ไปจับมาทอดกินแล้วเสียชีวิต เมื่อหลายปีก่อน" นายทัศนัยกล่าว
ด้าน  นพ.พงพันธุ์  วงศ์มณี  รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยังไม่มีรายงานว่าด้วงน้ำมันระบาดเข้ากรุงเทพฯ ไม่มีผู้ใดนำด้วงมีพิษชนิดนี้ส่งให้เราตรวจสอบ  เนื่องจากพบได้ทั่วไปตลอดทั้งปีอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่เดือนธันวาคมเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม   นอกจากด้วงน้ำมันที่มีพิษแล้วยังมีด้วงอีกชนิดหนึ่งที่มีสารพิษเช่นเดียวกัน คือ ด้วงก้นกระดก ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจผิดว่าเป็นด้วงน้ำมัน


สำหรับ ลักษณะด้วงก้นกระดกนั้นจะมีขนาดเล็กกว่า   มีความยาวเพียง 4-7 มิลลิเมตร บริเวณช่วงท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกและมักจะกระดกขึ้นๆ ลงๆ   ชอบอาศัยตามกองมูลสัตว์  กองไม้ และบินเข้ามาเล่นแสงไฟในบ้านเรือน  มีสารพิษชื่อว่า  เพเดอริน ซึ่งทำให้เกิดอาการผื่นคัน ผิวหนังบวมอักเสบ หากถูกดวงตาทำให้ตาบอดได้
"ขณะที่อันตรายของด้วงน้ำมันคือ  มีสารพิษชื่อว่า  แคนทารีดิน  ที่มีฤทธิ์ต่อเลือด  กระตุ้นประสาท หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย อุจจาระร่วง ปัสสาวะเป็นเลือด และเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว  วิธีป้องกันอันตรายหากถูกสารพิษคือ  ให้รีบล้างน้ำสะอาดหรือเช็ดด้วยแอมโมเนียออกทันที   และห้ามนำด้วงทั้ง 2 ชนิดมาบริโภคเด็ดขาด" รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวเตือน.

ด้วงน้ำมัน..แมลงมีสารพิษ


Pic_52876

ด้วงน้ำมัน เป็นแมลงปีกแข็ง ตัวดำ ขาดำและหนดดำ พบได้ทั่วประเทศ  จะเริ่มระบาดมากในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน...  

เมื่อราวเดือนธันวาคม พ.ศ.2547 แถวๆจังหวัดทางภาคเหนือ...ได้เกิดมีแมลงชนิดหนึ่งกัดคนจนเกิดเป็น แผลลุกลามถึงขั้นเสียชีวิต...!!

แล้ว ก็ทราบในภายหลังว่าแมลงตัวนี้ คือ...ด้วงน้ำมัน (Blister beetle) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Mylabris phalerata Pall. หรือชาวบ้านเรียกว่า ด้วงโสน ด้วงไฟถั่ว... 

จัดเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวมีขนาดกลาง ยาวประมาณ 2.5 ซม. กว้างประมาณ 1 ซม. ตัวสีดำ ขาสีดำ หนวดสั้นสีดำ 



ด้วงน้ำมันด้านหน้า


...บริเวณ ปีกมีแถบสีเหลืองส้มพาดขวาง 3 แถบ ขวางปีกคู่หน้า ปลายปีกสีดำ ปีกคู่หน้าสีดำ มีขีดสีเหลืองตามยาวขอบปีกข้างละขีด ส่วนหัวสีแดง และ อกมีขนาดเล็กกว่าลำตัว

สามารถพบเห็นได้ทั่วประเทศ (แต่ในกรุงเทพมหานครยังไม่ปรากฏว่ามีใครพบตัวมัน) โดยเริ่มพบตั้งแต่ เดือนเมษายน จะพบระบาดมากในระหว่าง เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน  

สำหรับ ชีวประวัติของด้วงน้ำมัน นี้...นักวิจัยยังไม่ได้ทำการศึกษาอย่างละเอียด ทราบแต่เพียงว่า ตัวเมียวางไข่ในดิน หลังจากไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน ตัวหนอนของด้วงน้ำมันเป็นแมลงห้ำ คอยหาไข่ตั๊กแตนกินเป็นอาหารจนโต เมื่อเข้าดักแด้ในดินแล้ว ก็จะบินไปหากิน พืชตระกูลถั่ว หรือต้นฝ้าย กระเจี๊ยบแดง ปอแก้ว ตลอดจนไม้ดอกชนิดต่างๆ



ด้านข้าง


นอก จากจะเป็น  ศัตรูตัวฉกาจพันธุ์พืช ของเกษตรกรแล้ว ยังเป็น อันตรายต่อมนุษย์ เราได้มากอีกด้วยเพราะมันมี สารพิษอยู่ในลำตัว เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยสารพิษออกมาเพื่อป้องกันตัวเอง

...ซึ่งสารพิษ นี้มีชื่อว่า...แคนทารีดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนคล้ายน้ำมัน ใน ด้วงน้ำมัน 1 ตัวจะมีสารแคนทารีดินประมาณ 6�7 มิลลิกรัม... 

หากโดน ผิวหนังจะทำให้เป็น แผลผื่นพุพอง ปวดแสบปวดร้อน ยิ่งเกาก็จะยิ่งทำให้ลามไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อเกามือก็จะเลอะสารนี้ ยิ่งไปสัมผัสบริเวณอื่นก็จะแพร่กระจายไป

...ส่วนใครรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อุจจาระร่วง ปัสสาวะเป็นเลือด และเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
วิธี ป้องกันอันตราย หากเผลอไปโดนเข้าก็ให้รีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว หรือเช็ดด้วยแอมโมเนียออกทันที เพื่อป้องกันการลุกลาม และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยใช้ผงถ่านดูดซับสารพิษ จากนั้นก็รักษาระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอาการช็อก ให้เลือดและน้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ และป้องกันอันตรายที่เกิดกับไต โดยทำให้มีการถ่ายปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น

เกษตรกรที่พบเห็นด้วงน้ำมัน มา รบกวนแปลงปลูกพืช และ หาก มีปริมาณมากผิดปกติ นักวิชาการได้แนะนำให้ใช้สาร carbaryl 0.1% (Sevin 85% WP) พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน มันก็จะเสียชีวิตไปในที่สุด

และล่าสุดในปีนี้ก็พบว่า มีการระบาดขึ้นมากอีก...ใครที่รู้แล้วก็ควรระมัดระวัง อยู่ให้ห่างๆมันจะดีกว่า และโดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีเด็กๆที่ชอบไปเดินเล่นในแปลงผัก...อย่าเผลอเด็ด ขาด

...หากสัมผัสกับมันก็ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บอกไว้...ก็จะปลอดภัย...!! 

ไชยรัตน์  ส้มฉุน