Pages - Menu

Wednesday, July 3, 2013

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วงในที่นี้ รวมถึงการดูแลและการจับด้วงอย่างถูกวิธี ไม่รวมการเพาะ เราจะแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ครับ
1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย 2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)


1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย

ด้วงตัวเต็มวัยนั้นส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืน กลางวันหลบซ่อนตามซอกไม้หรือในดิน ยกเว้นด้วงดอกไม้และด้วงมูลสัตว์บางชนิดที่ออกบินหากินยางไม้เวลาแดดออก แต่ในการเลี้ยงของเรา เมื่อไม่เห็นด้วงกินอาหารไม่ต้องตกใจ เพราะด้วงอาจขึ้นมากินตอนกลางคืน การเลี้ยงตัวเต็มวัย สำหรับการปูพื้นสามารถใช้ขี้เลื่อย ผสมเศษกิ่งไม้ใบไม้ และโรยด้านบนด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ กันเมื่อด้วงหงายท้องแล้วพลิกกลับไม่ได้ทำให้หมดแรงตายได้ ปูไว้ในตู้จระจก หรือกล่องพลาสติก ขนาดใหญ่กว่าตัวดว้ง เพราะทำให้ด้วงไม่เครียด และด้วงไม่ชอบพื้นเรียบและลื่น จะทำให้ด้วงขาเสียได้ (สาเหตุที่ด้วงเครียดมาจากหลายสาเหตุ เช่นการจับเล่นบ่อยเกินไป) ปูในตู้ซัก 5-10เซนติเมตร และดินควรชื้นแต่ไม่แฉะและฉีดน้ำทุก 1-2วันหรือเมื่อเห็นหน้าดินแห้ง และหากด้วงเครียกก็กาจเดินตะกุยตู้ ขาพับและเสียได้เหมือนกัน และหากอยากให้ด้วงอยู่นานๆไม่ควรให้ด้วงผสมพันธุ์ เพราะด้วงจะเสียพลังงานเยอะในการผสมพันธุ์ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำในกรณีที่ได้ด้วงมาแต่ตัวผู้ หรือได้ตัวผู้มาเกิน เพราะตัวผู้1ตัวสามารถผสมตัวเมียได้หลายตัว เพราะถ้าทำแบบนี้มาก ด้วงจะไม่มีโอกาสได้ขยายพันธุ์ครับ
การจับด้วง สำหรับด้วงกว่าง ทำได้ โดยจับที่เขาบน หรือเขาล่างก็ได้ ส่วนด้วงคีม ด้วงดอกไม้ หรือด้วงอื่นๆที่ไม่มีเขาที่อกให้จับที่ส่วนอกหรือตัวครับ

2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)
การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้นั้น เหมือนกับการดูแลเด็กทารก เพราะ เป็นช่วงที่บอบบาง เราจะแบ่งเป็นช่วงดังนี้
2.1 การเลี้ยงไข่ 2.2 การเลี้ยงหนอน 2.3การเลี้ยงดักแด้

-2.1 การเลี้ยงไข่
การเลี้ยงไข่ หรือการแยกไข่มาฟักเองหรือที่เรียกว่า ฟักมือ ทำได้โดย แยกไข่ออกมา แล้ววางบนดินแล้วกลบ หรือ จิ้มดินให้เป็นหลุมข้างกระปุกแล้วหยอดไข่หลุมละใบเพื่อดูพัฒนาการของไข่ หรือวางไข่บนกระดาษทิชชู่ที่ชุ่มน้ำ แล้วรอจนฟักเป็นหนอน การจับไข่ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการจับด้วยมือ ควรตักด้วยช้อนให้ติดมากับดิน เพราะไข่ของด้วงค่อนข้างบอบบาง และด้วงในตระกูล Eupatorus คือกว่าง5เขา,กว่างซาง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา เพราะบอบบางมาก แตกได้ง่ายๆ

-2.2 การเลี้ยงหนอน

การเลี้ยงหนอน หนอนแบ่งออกเป็น3ระยะ คือ L1 L2 และ L3 แต่ละวัยสามารถดูได้จากขนาดกะโหลก เพราะส่วนกะโหลกจะไม่มีการขยายตัวจนกว่าจะลอกคราบอีกครั้ง หนอนสามารถเลี้ยงได้ในกระปุกพลาสติก ขนาดตั้งแต่ 100ml(สำหรับ L1) และไล่ไปเรื่อยๆ รวมถึงสามารถเลี้ยงในตู้กระจกได้เช่นกัน สารอาหารของหนอนด้วง สำหรับด้วงคีมหนอนจะต้องการเชื้อเห็ด แต่ด้วงกว่างจะชอบมูลสัตว์ โดยเฉพาะมูลวัวแห้ง เราจะนำมาผสมขี้เลื่อย ไม้มะม่วง หรือขนุน หรือไม้อื่นๆ และหมักกับแป้ง อัตราส่วน แป้ง:ขี้เลื่อยผสมมูลหรือเชื้อเห็ด 1:9 (แล้วแต่สูตรของแต่ละคนด้วย) หมักเป็นเวลา 1-2เดือน และตากแดดเพื่อกำจัดไร ไส้เดือนฝอยที่จะมาเบียดเบียนหนอนของเรา จากนั้นนำขี้เลื่อย ผสมน้ำให้พอชื้น แต่ห้ามแฉะ ใส่ในกระปุกหรือตู้จนเกือบเต็ม แล้วใส่หนอนด้วงลงไป การเปลี่ยนอาหาร ทำทุก 1-2เดือน ดูจากมูลของหนอนถ้ามีมากก็เปลี่ยนได้เลย กระปุก ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี หนอนจะกินขี้เลื่อยอยู่ในกระปุก จนเปลี่ยนวัยเรื่อยๆจนเาดักแด้(เราควรเปลี่ยนขนาดกระปุกตามขนาดของหนอน) การตรวจเช็คหนอนควรทำตอนเปลี่ยนอาหาร ไม่ควรรบกวนหนอนมาก และหนอนไม่ชอบแสงและเสียงรบกวนมากเท่าไหร่ และควรหมั่นฉีดน้ำให้หน้าดินชื้นเสมอเมื่อหน้าดินแห้ง และหนอนในระยะ L1ควรใช้ช้อนตักเพราะเมื่อใช้มืออาจทำให้หนอนตายได้เพราะค่อนข้างบอบบาง

-2.3 การเลี้ยงดักแด้

การเลี้ยงดักแด้ หนอนด้วงเมื่อระยะ L3 ช่วงท้ายตัวจะเหลือง และเริ่มทำโพรงตัวย่น เตรียมเข้าดักแด้ ดักแด้นั้นเป็นช่วงที่บอบบางมากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา แต่ถ้าต้องการศึกษา สามารถทำได้โดยใส่ไว้ในโอเอซิส ที่ทำเลียนแบบโพรงที่ด้วงสร้างเพื่อเข้าดักแด้ และฉีดน้ำให้ชื้น ย้ายโดยใช้มือหยิบดักแด้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ดักแด้ช้ำแล้วนำใส่ โอเอซิสที่กดเลียนแบบโพรงที่หนอนสร้างขึ้นมา และไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายรูปเพราะดักแด้จะตายได้ ไม่ควรให้กระปุกใส่ดักแด้นั้นกระทบกระเทือน หากเป็นโพรงที่หนอนสร้างเอง ถ้ากระทบกระเทือนมากโพรงอาจพังได้และรอจนกว่าด้วงออกดักแด้ จากนั้นด้วงจะพักตัวอยู่ในโพรงหรือในดิน นาน 1-2เดือนก่อนขึ้นมากินอาหาร บิน และ ผสมพันธุ์

จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเลี้ยงด้วงครับ

No comments:

Post a Comment